วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานหลวงพ่อแสนแซ่

พี่คับช่วยโปโหมดงานหลวงพ่อแสนแซ่หน่อยดิคับ
พอดีว่าเพิ่งจัดงานปีนีเป็นปีแรก
หลวงพ่อนะเค้ามีอายุนับพันปีเชียวนะคับ
อยูที่วัดเด่นชัยอะว่าๆลองเข้ามาดูนะคับ
งานมีวันที่ 27-30 มีนา
ผมมีปะหวัดมาให้ลองอ่านดูนะ

ประวัติหลวงพ่อแสนแซ่
พระพุทธรูปโบราณ
ประดิษฐานในอุโบสถ วัดเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
หลวงพ่อแสนแซ่ หรือพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยเชียงแสน ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ วัดเด่นชัยพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก ๒๗๕ กก. หน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูงถึงโมลี ๔๒ นิ้ว เป็นพระนั่งขัดสมาธิเพชร หรือที่เรียกว่า พระสิงห์หนึ่ง พระพักตร์ข้อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง ขอบพระปรางทำเป็นร่องรับพระโอษฐ์ ขมวดพระเกศาเม็ดใหญ่ พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม ครองจีวรปิดอังสาขวาแลเห็นยอดพระถันทั้ง ๒ ข้าง ชายจีวรและสังฆาฏิเป็นแบบเขี้ยวตะขาบ และที่เรียกว่า พระแสนแซ่ เพราะพระพุทธรูปองค์นี้หล่อเป็นชิ้นๆ แล้วมาประกอบกัน เวลาประกอบใช้สลัก(แซ่) สอดใส่ให้มั่นคง ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้ายนั่นเอง จัดว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่ง และก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติของหลวงพ่อแสนแซ่ ก็จะกล่าวถึงประวัติของ วัดเด่นชัย เพื่อประกอบพอสังเขป
ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๔๐ บางท่านกล่าวว่า ปี พ.ศ.๒๔๐๒ มีภิกษุรูปหนึ่ง มีนามว่าพระอาจารย์ภา อยู่วัดระฆังโฆสิตาราม พระนคร พร้อมด้วยฆราวาส ชื่อนายเลื่อม ไม่ปรากฏนามสกุล เป็นพ่อค้าไม้ ทั้งสองท่านได้เดินทางมาที่จังหวัดแพร่ นายเลื่อมกับอาจารย์ภา ปรารภกันว่าเด่นชัยทำเลดี ต่อไปจะเจริญฝูงชนจะหลั่งไหลกันมาอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรที่จะมีวัดให้พุทธศาสนิกชน ได้บำเพ็ญบุญกุศลในอนาคต จึงได้ตกลงพร้อมใจกันตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น ให้ชื่อว่า วัดเลื่อมนิมิตร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ โดยมีอาจารย์ภา เป็นเจ้าสำนักสงฆ์รูปแรก และก็มีพระภิกษุอยู่จำพรรษานับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
ความเป็นมาของหลวงพ่อแสนแซ่ ซึ่งได้มาประดิษฐานอยู่ในวัดเลื่อมหรือวัดเด่นชัยในปัจจุบันเหตุมีอยู่ว่า เมื่อพระสงฆ์มาจำพรรษาที่วัดเด่นชัยมากขึ้น ทางวัดยังขาดพระประธาน ในอุโบสถ ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๔๕๗ เจ้าอาวาสวัดเด่นชัยพร้อมด้วย นายสี ตันเหลง มัคคทายกวัด และเหล่าทายก ทายิกา ทั้งหลาย ได้ไปขอความอนุเคราะห์จากท่านพระครูพุทธวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดแพร่ ในสมัยนั้นให้ช่วยเหลือ ท่านได้อนุโมทนาจัดมอบหลวงพ่อแสนแซ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระบาทฯให้ตามคำขอ ทั้งหมดจึงได้อาราธนานำมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถ วัดเด่นชัย
หลวงพ่อแสนแซ่ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก ๒๗๕ กก. หน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูงถึงโมลี ๔๒ นิ้ว เป็นพระนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน และได้หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา จากปากคำของ นายสี ตันเหลง มัคคทายกวัดว่าพระพุทธรูปองค์นี้ เดิมอยู่ในประเทศจีน ที่เมืองถาลี หรือ ตะลีฟูในปัจจุบัน เป็นเมืองที่อยู่เหนือแคว้นสิบสองปันนา สมัยที่เชียงแสนเป็นราชธานีของไทย และได้นำเอาหลวงพ่อแสนแซ่มาด้วย หลวงพ่อแสนแซ่จึงได้มาประดิษฐาน อยู่ ณ เชียงแสนเป็นเวลานานปี
ในปี พ.ศ.๒๔๑๒ ข้าหลวงฝรั่งเศส ซึ่งประจำอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ได้อันเชิญหลวงพ่อแสนแซ่ไปไว้ ณ ที่ทำงานของรัฐ เหตุการณ์ต่อมาได้เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพงขึ้น ณ เมืองหลวงพระบาง ประชาชนต่างพากันโจษขานกันต่าง ๆ นานา และลงความเห็นว่าเป็นเพราะ ข้าหลวงฝรั่งเศสนำเอาพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้ จึงทำให้ราษฎรทุกข์ยากลำบาก กลุ่มคนที่มีความคิดอย่างนี้ จึงขโมยพระพุทธรูปออกจากที่ทำงานของรัฐใส่แพข้ามฟากแม่น้ำโขง มาไว้บนหาดทรายบ้านท่านุ่น ทางฝั่งไทยและมีราษฎรจากจังหวัดน่านผ่านไปพบเข้า โดยบังเอิญ จึงนำความมากราบเรียนเจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร ข่าวพระพุทธรูปถูกค้นพบโดยราษฎรจังหวัดน่าน ได้แพร่หลายกระจายออกไปจากปากต่อปาก คนต่อคน และมีราษฎรจากบ้านนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พวกหนึ่งซึ่งไปค้าขายอยู่แถบนั้นทราบเข้า จึงนำเหตุการณ์มาเล่าสู่กันฟัง กับหมู่ญาติมิตร ทางจังหวัดแพร่ทราบความถึงท่านพระครูพุทธวงศาจารย์จึงได้ประกาศหาผู้ที่ได้ข่าวและตั้งรางวัลให้กับผู้ที่นำพระมาถวายได้เป็นจำนวน ๒๕๐ บาท ตามค่าเงินในสมัยนั้น ดังนั้นราษฎรบ้านนา-จักรอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ใช้เวลาหลายวันกว่าถึงท่านุ่นฝั่งโขงแล้วเสาะหาพระพุทธรูปจนพบ อัญเชิญมาด้วยความยากลำบาก เพราะพระพุทธรูปมีน้ำหนักมาก และก็ได้อัญเชิญหลวงพ่อแสนแซ่ จากท่านุ่นฝั่งโขงก็เดินทางถึงวัดพระบาทฯ จังหวัดแพร่ ปีพ.ศ.๒๔๕๗ ประจวบกับ นายสี ตันเหลง พร้อมด้วยทายก ทายิกา ได้ประชุมปรึกษาหารือ แสวงหาพระประธานมาประจำวัด ได้ทราบข่าว มีพระพุทธรูปงามองค์หนึ่ง ประดิษฐานอยู่ที่ศาลา วัดพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จึงพร้อมใจกันไปขอเช่าด้วย ราคา ๒๕๐ บาท แต่จะเป็นด้วย ปาฎิหาริย์ หรือเหตุใดไม่ปรากฏ บังเกิดฝนตกหนักในวันนั้น เกิดความชุ่มเย็น อากาศแจ่มใส แปลกกว่าวันที่ผ่านมา ปรากฏให้เห็นเป็นที่อัศจรรย์ใจ ท่านพระครูพุทธวงศาจารย์ เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ประจวบกับวัดเด่นชัยไม่มีพระประธาน จึงมอบให้โดยไม่คิดมูลค่าแต่ประการใด เมื่อได้รับมอบเรียบร้อยแล้ว จึงได้อาราธนาขึ้นเกวียนมาตามถนนหลวง และอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ วัดเด่นชัย นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ขอบคุนคับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น