วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เสา "ชิงช้า" ไม้สัก จากเมืองแป้



“เสาชิงช้า” ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม บนถนนบำรุงเมือง เขตพระนคร เสาชิงช้าถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2327และถือเป็นโบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 เป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ มีสีแดงชาด มีส่วนสูงประมาณ 21 เมตร เนื่องจากเสาชิงช้ามีอายุการใช้งานมานานและสภาพชำรุดมาก จึงได้ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์เสาชิงช้าใหม่โดยใช้ไม้สักทอง ที่มีลำต้นขนาดใกล้เคียงเสาชิงช้าเดิมจำนวน 6 ต้นจากจังหวัดแพร่ และดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549


ประวัติ

ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วได้โปรดให้มีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า บริเวณริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายมาตั้งที่ถนนบำรุงเมืองในตำแหน่งนี้จนถึงปัจจุบัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 บริษัท หลุยส์ ที.เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 และมีการซ่อมใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2502 และมีการเปลี่ยนเสาใหม่โดยคงไว้ในลักษณะเดิมในปี พ.ศ. 2513 จากนั้นก็ยังไดัรับการซ่อมแซมบูรณะอีกหลายครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2548 เสาส่วนกลางมีความชำรุดมาก และเนื่องด้วยเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร ทางกรุงเทพมหานคร จึงได้ทำหนังสือขออนุญาตกรมศิลปากร เพื่อดำเนินการเปลี่ยนเสาใหม่ทั้งหมด ดังที่เห็นในปัจจุบัน

และในอดีตเสาชิงช้านี้เคยใช้ประกอบพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าในศาสนาพราหมณ์ เพื่อเป็นการแสดงถึงการต้อนรับพระอิศวรในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ในเดือนยี่ของทุกปี แต่ต่อมาพระราชพิธีนี้ได้ถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2478

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น