วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คนแป้ แห่ระเบิด

ตำนานเรื่อง “เมืองแพร่ แห่ระเบิด”
โดยนาย ณรงค์จัน ทรางกรู ผู้เขียน/พิมพ์ เผยแพร่
[/b] [/color] [/size]
[/size]
เมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีมาแล้ว (พ.ศ.๒๕๐๔ - ๒๕๐๘) ผม (นายณรงค์ จันทรางกรู) ไปทำงานที่เมืองน่าน
ทันทีที่เดินทางถึงที่ทำงาน ถูกทักทายเชิงล้อเลียนว่า “เมืองแพร่แห่ระเบิด” และถูกทักทายเสมอเมื่อพบปะผู้คนในท้องถิ่น
ผมก็ไม่รู้ความหมาย ได้แต่หัวเราะแหะๆล่าสุดเมื่อ ๒-๓ เดือนมานี้ (พ.ศ.๒๕๕๒) ผมมีเรื่องราวที่ต้องคิดต่อประสานงานกับ
คนเมืองเชียงใหม่ (สุภาพสตรี) ทั้งๆที่เคยพบหน้ากันครั้งแรก คำทักทายของเขาก็คือ “เมือแพร่แห่ระเบิด”
ผมจึงเกิดความคิดว่าจะต้องศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ได้ ว่ามันมีความเป็นมาอย่างไร หมายความว่าอย่างไร
หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปอีกเรื่อยๆก็รู้สึกสงสารคนรุ่นลูก รุ่นหลาน เกรงว่าเขาจะได้รับความอับอายเกิดปมด้อยที่เกิดมาเป็นคนเมืองแพร่
เป็นตัวตลกที่ถูกทักทายเชิงล้อเลียนอยู่เสมอเช่นนี้ จึงเริ่มการดำเนินสืบเสาะ สอบถามบุคคลทั่วๆไปจนทราบว่า
เรื่องนี้มันเกิดขึ้นในท้องที่ อ.สอง จ.แพร่ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ๖๕ ปีมาแล้ว ผมจึงได้ไปพบพี่อั๋น หรือ
คุณสุรินทร์ โสภารัตนานันท์ อดีตสจ.หลายสมัย และอดีตเสรีไทยแพร่ บ้านเดิมอยู่หนองม่วงไข่ ปัจจุบันอยู่ที่บ้านตรงข้ามสนามกีฬา
อ.ลอง จ.แพร่ เป็นผู้รู้เรื่องนี้ดี จึงได้พาพบไปพบใครต่อใครหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และอยู่ในเหตุการณ์กับเรื่องนี้เพื่อสอบถามเรื่องราว
ความเป็นมาอย่างไรแล้วนำเรื่องราวนั้นมาปะติดปะต่อเป็นเรื่องใหม่ เพื่อร่ายต่อความเข้าใจและลำดับเหตุการณ์ได้ถูกต้องบุคคลที่คุณสุรินทร์
พาผมไปพบมีตัวตน และที่อยู่ชัดเจน อยู่ในเหตุการณ์จริงไม่ใช่ฟังเขาเล่าต่อมาอีกที ได้แก่
๑. พระสยุท์สากล อติพัทโท เจ้าอาวาสวัดแม่ลานเหนือ ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่
๒. นายสม ไชยแก้ว บ้านเลขที่ ๖๙ หมู่ ๙ ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่
๓. นายสมาน หมื่นขัน บ้านเลขที่ ๙๒/๖ หมู่ ๔ แม่ลานพัฒนา ต.ห้วยอ้อ
บุคคลทั้ง 3 ต่างเล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มเดิมที่ นายหลง มโนมูล คนงานรถไฟสถานีแก่งหลวง
ได้ไปพบซากระเบิดที่ทิ้งจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่นำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามน้ำแม่ต้า (อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเด่นชัย อ.เด่นชัย กับสถานีรถไฟบ้านปิน อ.ลอง) เพื่อสกัดการเดินทางของญี่ปุ่นเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ปีพ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘)
เป็นคนแรก จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขันทราบ นายสมานฯจึงได้ไปดู และขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟสถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ นายชุ่ม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุดขึ้นมาจากหลุมทรายที่ถับถมอยู่มีจำนวน ๒ ลูก (มีขนาดความโตกว่าถังแก๊สชนิดยาว) และทำการถอดชะนวนระเบิดออกแล้วใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดควักเอาเผ่า (ดินระเบิด) ออกแล้วเอาเผ่า (ดินระเบิด) ที่ควักออกมาได้นำไปประกอบสร้างระเบิดลูกเล็กๆขึ้นใหม่ได้หลายลูก แล้วเอาไประเบิดปลาที่แม่น้ำยม (ห้วยแม่ต้าไหลลงสู่แม่น้ำยมใกล้แก่งหลวง) ได้ปลามากินมากมายแล้วช่วยกันยกขึ้นใส่ล้อ (เกวียน) ลากมาพักไว้ที่บ้านแม่ลู้
ต. บ้านปิน ความหนักของลูกระเบิดที่นำขึ้นบรรทุกล้อ(เกวียน)ถึงกับทำให้ซ้างล้อ(คานของเกวียน) หักต้องเปลี่ยนใหม่
(และวันที่เปิดพิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ ทางพิพิธภัณฑ์ได้ขอยืมลูกระเบิดของจริงจากวัดนาตุ้มนำมาแสดงโชว์ต้องใช้คนงานถึง ๖ คนจึงยกขึ้นใส่ปิ๊คอัพได้ นับว่ามีน้ำหนักมากคงจะหลายร้อยกิโลกรัม)
ส่วนระเบิดลูกที่ ๓ ช่วยกันขุดด้วยแรงคนไม่ได้เพราะจมอยู่ในหลุมทรายลึกมาก จึงได้ไปตามนายบุญมาอินปันดี ซึ่งเป็นเจ้าของช้างลากไม้ในป่าบริเวณใกล้เคียง ให้นำช้างมาลากลูกระเบิดขึ้นจากหลุมได้ทำการถอดชนวน ตัดหาง และควักเอาเผ่า(ดินระเบิด)ออกบรรทุก(ล้อเกวียน)มาสบทบกันอีก ๒ ลูกที่นำออกมาก่อนแล้วที่บ้านแม่ลู้ ต. บ้านปิน
จากนั้นก็ลากโดยบรรทุกล้อ(เกวียน)มุ่งเข้าสู่หมู่บ้าน ชาวบ้านสองข้างทางทราบว่าข่าว และเห็นล้อ(เกวียน)บรรทุกลูกระเบิดตามกันมา ๓ คันต่างก็เดินตามกันมา เป็นขบวนยาว ผ่านหน้าบ้านผู้ใดต่างก็เดินเข้ามาสบทบเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยจนมาถึงบ้านแม่ลานเหนือใกล้วัด ชาวบ้านยิ่งออกมาดูกันมากขึ้น ชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่อยู่ใกล้วัดได้นำฆ้อง -กลองยาว-ฉิ่ง-ฉาบออกมาต้อนรับขบวนแห่เหมือนกันต้อนรับขบวนของ กฐิน หรือผ้าป่าทำนองนั้นแล้วแห่เข้าวัดทำการถวายลูกระเบิดให้เป็นสมบัติของวัดเพื่อเป็นระฆัง
ส่วนระเบิดลูกที่ ๒ ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ สำหรับระเบิดลูกที่ ๓ ขบวนแห่นำไปถวายวัดนาตุ้ม ต.บ่อเหล็กลอง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนางจันทร์ฯผู้เป็นภรรยาของนายบุญมา อินปันดี เจ้าของช้างปัจจุบัน(ปีพ.ศ.๒๕๕๒) ลูกระเบิดลูกที่ ๑ เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ต.ห้วยอ้อ ลูกระเบิดลูกที่ ๒ เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ ส่วนระเบิดลูกที่ ๓ เก็บไว้ที่วัดหน้าตุ้ม ต. บ่อเหล็กลอง ทางวัดได้จัดสร้างหอระฆังสูงไว้รองรับสวยงามมาก(ดังรูปภาพ)ส่วนลูกที่ ๒ ทางวัดยังไม่ได้สร้างหอไว้รองรับ ต่อไปคงจะต้องสร้าง สำหรับระเบิดลูกที่ ๑ เก็บแขวนไว้ใต้ถุนกุฏิ
แต่หลังจากมีผู้นิยมเล่นของเก่าชนิดหายากและแปลกๆได้มาขอซื้อโดยเสนอในราคา ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท)ชาวบ้านจึงเห็นว้ามีราคามากจึงมติว่าไม่ขาย และเกิดหวงแหนเห็นคุณค่า เกรงจะถูกลักขโมย จึงได้สร้างห้องลูกกรงเหล็กดัดล้อมรอบไว้ และต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ต่อไปคงต้องสร้างหอไว้รองรับ สียงระฆังดังก้องกังวานได้ยินไปไกลมาก ตามเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเรื่องที่มาของคำว่า
“เมืองแพร่แห่ระเบิด” คนแพร่ที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดแต่อย่างใดแถมยังนำไปใช้ประโยชน์ได้ถึง ๒ อย่างคืออย่างแรกเอาเผ่า (ดินระเบิด) ที่ควักออกไปประกอบเป็นระเบิดลูกเล็กๆได้อีกหลายลูกแล้วเอาไประเบิดปลาที่แม่น้ำยม ได้ปลามากินเป็นอาหารจำนวนมาก ส่วนประโยชน์ที่ ๒ ได้นำไปใช้เป็นระฆังของวัดได้ถึง ๓วัด หากว่ากองทัพอเมริกันพบว่าชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ในเรื่องวัตถุระเบิด สามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเอาอาวุธประสิทธิภาพสูงสุดและดัดแปลงมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่า จะต้องทึ่ง และชื่นชม จึงนับเป็นความภาคภูมิใจของคนเมืองแพร่แม้แต่ชาวต่างประเทศ (อเมริกัน)ยังให้ความชื่นชมลูก-หลานคนเมืองแพร่จงยิ้มรับความภาคภูมิใจที่ได้รับความภาคภูมิใจที่ได้รับการทักทายเช่นนั้นเมื่อรู้ความจริงแล้วไม่ต้องอับอายหรือเกิดปมด้อยแต่อย่างใด ให้คิดเสียว่าเขาทักทายด้วยความชื่นชมเรื่องนี้ถือเป็นเกียรติประวัติของคนเมืองแพร่ต้องขอขอบคุณเขาด้วยซ้ำ (ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้กรุณาให้ข้อมูลในเรื่องนี้)
ณรงค์ จันทรางกรู
๑ หมู่ ๗ ถนนแพร่-ลอง ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐
คนเมืองแพร่ /ผู้เขียนเรียบเรียงเรื่องราว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น