วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตำนานผีล้านนาตอนผีหัวหลวง

ตำนานผีล้านนาตอนผีหัวหลวง


อันว่าตำราล้านนาว่าด้วยเรื่องผีหัวหลวงนั้นมีมากหลายแหล่ ต่อนี้จักอู่เรื่องผีหัวหลวงล้านนาเกี่ยวกับก๋ารอยู่ของผีหัวหลวง หากผู้ใดสนใจ๋ก็เจิญอ่านเต๊อะว่าดั่งอี้เน้อ....

หากวันใดเมื่อใดผู้คนทั้งหลายจักกระทำพิธีอันเป๋นมังกะละมงคลห้ามเบ่นหน้าหรือหันหน้าไปทางทิศที่ผีหัวหลวงอยู่จักฉิบหาย จักเสียข้าวของเงินคำแต๊แหล่ บ่ว่าจักไปค้าขาย หรือไปเล่นเสี่ยงโชคลาภหื้อจ๋ำจื่อและพิจจารณาเอาเต๊อะ ทิศหรือตางที่ผีหัวหลวงอยู่มีดั่งนี้ว่าอั้น

วันอาติ๊ด(อาทิตย์)ผีหัวหลวงอยู่ปล๋ายไม้ ห้ามแหงนผ่อดูปล๋ายไม้เมื่อยามออกจากบ้าน

วันจั๋น(จันทร์)ผีหัวหลวงอยู่ตางทิศตะวันออกห้ามเตียวตางไปหากิ๋นหรือนั่งเบ่นหน้าผินหน้าไปทางนี้จักเสียทรัพย์ จักมีอนตะราย(อันตราย)

วันอังการ(อังคาร)ผีหัวหลวงอยู่ตางทิศตะวันตกห้ามเตียวทางหรือเบ่นหน้าไปทิศนี้บ่ดี เล่นก๋ารพนันก็หมดเสี้ยงเงินคำแต๊แหล่

วันปุ๊ด(พุธ)ผีหัวหลวงอยู่ตางทิศหนอากาศหมายว่ามันอยู่ในอากาศหั้นแล ห้ามขึ้นที่สูงจั้กตกมาต๋าย ห้ามเตียวทวนกระแส(อ่านขะแส)ลมวันนี้หากบ่อั้นจักเกิดพินาศเป๋นเสนียดจัญไรแก่ต๋นแล

วันผั้ด(พฤหัสบดี)ผีหัวหลวงอยู่บนฟ้า ห้ามแหงนผ่อฟ้าเวลายามเมื่อออกจากบ้านเกหา(เคหา)จักเป็นเสนียดแก่ต๋น ไปค้าขายก็บ่ได้ดั่งใจ๋ มันแก๋น(อับโชค)บ่มีไผมาซื้อสินค้าสินค้าเคิ้น(เหลือ)เน่าเสี้ยงแล

วันสุ้ก(ศุกร์)ผีหัวหลวงมันอยู่ตางทิศใต้ ห้ามออกบ้านทางทิศใต้หรือไปค้าขายเสี้ยงโชคทางนี้หรือนั่งเบ่นหน้าไปทิศใต้จั่กบ่จ๋ำเริญแหล่

วันเสา(เสาร์)ผีหัวหลวงอยู่ทิศเหนือห้ามไปแอ่วแหวงทางนี้หรือนั่งเบ่นหน้าหันหน้าไปทิศเหนือจั่กเป๋นตุ๊ก(ทุกข์) เสี่ยงโชคลาภก็บ่ได้แก๋นแต๊ๆว่าสะนี้แล....

มีเจี้ยเกี่ยวกับเรื่องแก๋นหรืออับโชคว่า

นายมอยมันเลี้ยงไก่ชนไว้ตั๋วนึ่ง เมื่อนำไปจาม(ทดลองชน)ก็ชนะทุกครั้ง ชนดี ลวดลายเก่งมีทั้งสอดทั้งแทง แต่เมื่อนำไปชนเล่นเงินเมื่อใดไก่เจ้ากรรมตัวนี้เป็นอันว่าก๊าน(แพ้)ทุกทีไป เพื่อนๆจึงบอกนายมอยว่าไก่มันแก๋นคือไก่บ่กิ๋นเงินหรือชนะ นายมอยจึงฆ่าแล้วเอาเนื้อไก่มาห่อหนึ้ง(ทำห่อหมก)ให้แม่บ้านนำห่อหนึ้งไปขาย แม่บ้านนำห่อหนึ้งเนื้อไก่แก๋นไปขายที่ตลาดนานเท่านานก็ไม่มีใครซื้อจึงนำกลับมาบ้านเผอิญระหว่างทางมีคนขอซื้อห่อหนึ้งทั้งหมด แต่พอขอรับเงินคนซื้อกลับบอกว่า " ขอแป๊ะก่อนเต๊อะ" (ขอเชื่อไว้ก่อนยังไม่มีเงิน)..แม่บ้านจึงเอ่ยว่า " เอ้อไก่แก๋นแต๊ว่า จนก็บ่ได้เงิน แป๋งห่อหนึ้งก็ยังโดนแป๊ะ"(ชนก็ไม่ได้เงินเอาเนื้อทำห่อหมกขายก็ยังขอเชื่อไว้ก่อน) ถะแลม..ถะแลมๆๆๆๆ

เรื่องผีหัวหลวงก็จบลงเท่านี้แล...ลุงหนานก็ขอลาไปก่อนแลนายเฮย




ตำนานผีล้านนาตอน"ผีดอกงิ้วแดง"

อย่างเข้าเดือนเจ็ดในล้านนาราวปี พ.ศ. 2512 คืนเดือนเสี้ยวแหว่งดวงด้านตะวันออก บรรยากาศชวนให้คนชอบหาปลาออกไปทอดแหตามริมฝั่งแม่น้ำปิง..

สองสหายพากันสะพายแห...ในมือถือก๋งสะติก(หนังสะติ๊ก)อาศัยแสงเดือนเสี้ยวเดินเลาะไปตามฝั่งแม่น้ำปิง พลันเห็นหนูพุกตัวโตกำลังกัดกินรากเหง้ากอต้นอ้ออย่างเอร็ดอร่อย..

"เฮ้ย..อ้ายจั๋น นั่นหนูพุก"...ยังไม่ทันลดเสียงแต่มืออ้ายจั๋นมันไวกว่ายิงหนังสะติกโพละเข้าให้..เจ้าหนูพุกตัวโตหล่นลงน้ำพร้อมกอรากอ้อ...

"ตายแน่นอน.."เสียงร้องสองสหายพร้อมกัน ขณะที่วิ่งเหยาะเข้าหาเป้าหมายร่องรอยน้ำกระเพื่อมที่หนูตกลงในน้ำ..

ระดับน้ำเพียงท่วมหลังเท้า แต่ไม่เห็นแม้แต่เงาของหนู น้ำที่กระเพื่อมระรอกกลับสงบนิ่งเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น....

ซ่า...ซ่า....ทรายเม็ดใหญ่น้อยถูกขว้างสาดเข้าใส่ถูกสองสหาย แต่เมื่อถูกตัวสองสหายตกลงน้ำเม็ดทรายกลายเป็นดอกงิ้วแดง..

ทั้งอ้ายจั๋นและอ้ายดีสองสหายรู้ทันทีตามประสบการณ์ที่เคยผ่านร้อนหนาวมาว่าผีเอากูแน่แล้ว รีบระนึก(ร่าย)พระคาถาชื่อว่า "ช้างน้ำน้อย"ที่ผู้คนหากินทางน้ำนับถือกันว่า" โอมจ๊างน้อยงาแดงแตงแม่น จ๊างน้อยแกว่นแตงเงา..." เท่านี้เองห่าฝนทรายที่ซัดสาดก็หยุดเหลือแต่ดอกงิ้วแดงลอยฟ่อนอยู่บนผิวน้ำ....

สองสหายต่างพากันหยุดหาปลาและกลับบ้านไปเล่าเหตุการณ์ให้ชาวบ้านที่กำลังนั่งล้อมวงจักตอกในหมู่บ้านฟัง..

....รุ่งเช้าชาวบ้านเห็นผู้คนหมู่บ้านฝั่งตรงกันข้ามพากันลงงมหาศพหนุ่มคนหนึ่งที่ออกจากบ้านไปหาปลาแต่ไม่กลับบ้านตลอดคืน ..พบศพจมอยู่ในตมริมเกาะกลางแม่น้ำปิงเพราะพี่แกออกมาหาปลาเกิดเป็นลมชักฟุบลงในน้ำตายใกล้กับท่าน้ำที่ผีเอาดอกงิ้วแดงขว้างปาสองสหายนั่นเอง

เหตุการณ์ผีขว้างทรายก็จบลงเพียงเท่านี้ก่อนแลนายเฮย...



ตำนานผีล้านนาตอนนกผีสั่ง
สรีสวัสดีหมู่เฮายามใกล้ปี๋ใหม่เมือง..แถมบ่เมินผีปู่สังขานต์ก็จะล่องคนเฮาจะแก่ไปแถมปี๋หนึ้งหลังจากวันผัดที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๕. ๐๖ น.ซึ่งเป๋นวันพญาวันปู๊นก่อนเน้อจะเป็นเปิ้งงัว(เป้า)ขณะนี้วันที่ 1 เมษายน 2552 กำลังเป๋นปี๋หนู(ไจ้)ไปจนถึงวันปุ๊ดที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๒...

วกมาเรื่องผีๆแถมเมาะคิดถึงพวกเรามากๆ..มีเวลาก็มานั่งเล่าสู่กันฟังเพราะไปเมืองสามหมอกกับเพื่อนๆขณะที่นั่งรถไปไอ้เพื่อนมันก็เล่าเรื่องที่เขาพบด้วยตนเอง ตามรายทางแต่ละแห่งที่เคยมีเหตุการณ์ อย่างเช่นตอนที่ผ่านป่าเขาเล่าว่าตรงนี้แหละมาสองครั้ง เจ้านกผีมันก็มาทำเอาตกใจสองครั้งเหมือนดั่งแกล้ง

ไอ้ตัวผมก็เลยบอกว่าเออนั่นแหละนายเฮยเขาว่ากันคือนกผี เพราะเรามาว่าความให้แก่เจ้าทุกข์ที่มีเรื่องฟ้องร้องกันกับคนชาวดอย คนพวกนี้เขามีคุณไสย์ที่เรียกกันภาษาล้านนาว่าการตู้

ตู้คือการเสกสิ่งของให้เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วบินไปยังคนที่เป็นศัตรูคู่คดีความ

ใส่ คือการเสกสิ่งของใส่ในอาหาร น้ำให้ศัตรูพ่ายแพ้หรือเป็นอันตรายตามที่ต้องการ

เจ้าเพื่อนมันเลยเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเขาว่า ครั้งแรกมาว่าความพาเอาเจ้าทุกข์นั่งมาด้วย พอผ่านโค้งเกิดมีนกตัวใหญ่มันบินเข้าโถมใส่ด้านหน้ารถดังสนั่นทุกคนตกใจ แต่พอหยุดรถลงดูก็ไม่เห็นมีอะไร เจ้านกตัวนั้นก็ไม่รู้จักว่ามันเป็นนกอะไร จะว่านกแร้งก็ไม่ใช่ นกยูงก็ไม่มี แต่ก็นั่นแหละเราก็นึกกันว่ามันเป็นเหตุที่สุดวิสัยก็พากันขับรถต่อไปจนว่าความเสร็จ ศาลสั่งนัดกันวันใหม่

ถึงวันนัดก็พากันมาตามเส้นทางเดิม พอผ่านป่าใจนึกอยากจะเปิดกระจกนั่งขับรถกินลม แต่ก็ลืมไปว่าครั้งก่อนใกล้ๆกันนี่แหละเคยมีนกบินลงชนกระจกหน้ารถ พอเปิดกระจกขับไปราวสองสามกิโลจู่ๆนกเจ้ากรรมบินเข้ามาขี้ราดลงตัก ทำเอาพวกเราตกใจ แต่นกเจ้ากรรมมันก็บินเล็ดรอดออกจากหน้าต่างรถออกไปหายแส้บหายสอย ต้องจอดรถลงล้างขี้นกในห้วยข้างถนน เสร็จแล้วก็ขับรถขึ้นศาลว่าความกันต่อไป

เหตุการณ์สองครั้งทำให้ต้องสืบเสาะให้รู้ว่ามันไม่ใช่นกธรรมดาแน่ คราวนี้แหละจึงพาคนที่มีคาถาอาคมมาด้วย จึงโล่งลอดปลอดตลอดทางเจ้านกผีสั่งไม่เห็นบินมารบกวน หรือว่าฝ่ายคดีความตรงกันข้ามไม่กล้าลองของ แต่ที่แน่ๆก็ชนะคดีความกันไปตามหวัง




ตำนานผีล้านนาตอนมีดแหกผีไอสูร


ก่อนที่จะเล่าเรื่องมีดแหกผีไอสูรก็ต้องขอสุมาอภัยพวกเราทั้งหลาย ละเว้นเป็นเวลาเนิ่นนานที่จะมาเล่าเรื่องผีๆ...

เพราะลุงหนานไปแสวงบุญที่เมืองเชียงตุง ไปถวายทานผ้าป่า ร่วมงานปอยหลวงฉลองพระวิหารแบบไทเขิน เพิ่งกลับมาก็เลยรีบมาเล่าขานตำนานผีล้านนาต่อจากเมื่อก่อน

อันว่าไอสูร หรือที่ผู้คนทั่วไปเรียกกันว่ารามสูรนั่นแหละครับ แต่ผู้คนล้านนาบางท้องถิ่นเรียกรามสูรนี้ว่าผีไอสูรเพราะมันไม่มีตัวตนเพียงแต่จู่ๆก็มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมา ก็เลยเหมาเอาว่าเป็นเรื่องของผีๆๆๆ ว่างั้นเถอะ

พวกเราคงได้เรียนเรื่องฟ้าร้องฟ้าผ่ากันมาแล้วว่า ฟ้าผ่าจะมีกระแสไฟฟ้าจากฟ้าลงมาสู่ดิน หากมันผ่าที่ใดที่นั่นก็จะต้องเสียหายแตกกระจายปี้ป่นแหลกลานเป็นแถบๆ แต่บางครั้งกระแสไฟฟ้ามันพุ่งจากดินขึ้นไปสู่ก้อนเมฆ อันนี้แหละมันกลับข้างกัน ทำให้กระแสไฟฟ้าจากดินสู่เบื้องบนไปปะทะกับสิ่งของใดๆ มันต้องแหลกลานไปเช่นกัน โดยเฉพาะกระแสไฟฟ้าหรือที่รามสูรยิงขึ้นฟ้านั้นผ่านต้นไม้ใด ย่อมทำให้ต้นไม้หรือบางครั้งอาจเป็นสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ.ต้องเสียชีวิตลงฉับพลัน ต้นไม้ หรือสัตว์ที่เสียชีวิตเพราะไอสูรยิงนี้แหละ พ่อหมอ แม่หมอพื้นบ้านจะนำเอามาทำมีดแหก คือเอามีดมาลากครูดเบาๆตามผิวหนัง บวมพอง หรือเป็นอาการที่มีโรคใดโรคหนึ่ง

เมื่อทำรูปมีดแล้ว พ่อหมอ แม่หมอจะเขียนพระคาถาลงไปในมีด ในวันเดือนดับ (แรม 14หรือ 15 ค่ำ)เพราะถือว่ามันดับพิษ ภัย โรคร้ายต่างๆนั่นเอง

การเขียนพระคาถาลงบนมีดหมอหรือมีดแหก จะขึ้นต้นด้วยคำว่า..สะ หะ วะ........ ลงท้ายด้วยคำว่า ยะ...เมื่อเขียนเสร็จจะนำมีดหมอหรือมีดแหกไปไว้ที่หิ้งผีครู เมื่อมีคนไข้มาขอรักษาพ่อหมอ หรือแม่หมอจะนำมีดแหกมาเสกเป่า แล้วนำมีดกดลงที่จะแหก แล้วลากมีดลงมาตามพิธีกรรมเพื่อแหกดันเอาพิษร้ายออกจากร่างกาย คนไข้ก็จะหายจากอาการไข้ด้วยมีดแหกผีไอสูร

นี่ก็เป็นวิธีการหนึ่งของการรักษาโรคด้วยความเชื่อเรื่องผีของผู้คนบางท้องถิ่นในล้านนา




ขอบคุณข้อมูลจาก http://gotoknow.org/blog/nhanphromma?page=3
ภาพ จาก google

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น