วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บุญกับความโลภ

"..พระพุทธเจ้าท่าน ว่าอย่างนี้....
การให้ทานแก่คนที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ครั้งหนึ่ง
การให้ทานแก่ท่านผู้มีศีลบริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรคครั้งหนึ่ง
การให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติผลครั้งหนึ่ง
การให้ทานแก่พระโสดาปัตติผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
การให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีผลครั้งหนึ่ง
การให้ทานแก่พระสกิทาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอนาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
การให้ทานแก่พระอนาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พรอนาคามีผลครั้งหนึ่ง
การให้ทานแพรอนาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอรหัตมรรคครั้งหนึ่ง
ถวายทานแก่พระอรหัตมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระอรหันต์ครั้งหนึ่ง
ถวายทานแก่พระอรหัตผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
ถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทานครั้งหนึ่ง

ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทานครั้งหนึ่ง
สร้างวิหารทาน 100 ครั้ง ไม่เท่ากับให้ธรรมะเป็นทาน 1 ครั้ง

ขอบคุณ siamsouth

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น)

บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น)
บ้านประทับใจ

บ้านประทับใจ

เป็นบ้านไม้สักทั้งหลัง ผู้เป็นเจ้าของบ้าน คือ คุณพ่อกิจจา ชัยวัณณคุปต์
ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เมื่อวันที่ 7 มิถุนายม 2527 ด้วยดรคเบาหวาน
โรคหัวใจ ปัจจุบัน คุณแม่ลำยอง ชัยวัณณคุปต์ ภรรยาเป็นผู้ดูแล
และรับผิดชอบสืบต่อมาบ้านประทับใจ เป็นบ้านส่วนบุคคล
ตั้งอยู่ในเนื้อที่ทั้งหมด 34 ไร่ ได้ริเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515
โดยมีคุณพ่อกิจจา เจ้าของบ้าน เป็นผู้ออกแบบแปลนและตกแต่งบ้านด้วยตัว
ท่านเอง โดยไม่ได้ติดต่อสถานปนิกเลยดังที่ได้อธิบาย ปัญหาการเสาะหาไม้และการก่อสร้างให้ท่านได้ทราบ ตามบทบาทข้าง
ต้นแล้วบ้านประทับใจ มีการปลูกสร้าง และติดเติมมาเรื่อง ๆ ตั้งแต
่ ปี พ.ศ.2515 โดยใช้ไม้สักท่อน ขนาดใหญ่ ตั้งเป็นเสาบ้านจำนวน
ทั่งหมด 130 ต้น ใช้ระยะเวลาก่อสร้างเสร์จสมบูรณ์ เป็นบ้านพักอาศัย
ได้ประมาณ 5 ปี คือ ปี พ.ศ.2519 ก็เป็นที่พำนักพักพิง ของพ่อ ,
แม่ และ ลูกหลาน ปัจจุบันบ้านประทับใจก็ยังคงเป็นบ้านส่วนบุคคล แต่ก็ได้เปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของ จังหวัดแพร่ตามความประสงค์ของท่านที่ได้ติดต่อขอเข้าชมเป็นประจำ โดยมิได้เกี่ยวข้องกับทางราชการและส่วนอื่นใดแต่อย่าง ่ใด ตามที่บาง
ท่านอาจจะเข้าใจแบบแปลนการปลูกสร้างและลักษณะทั่วไป
ของบ้านประทับใจบ้านสร้างเป็นแบบทรงไทย ประยุกต์
หลังคาสูงติดต่อกัน 3 หลัง แต่พื้นต่ำจากระดับของบ้าน หลังคตามีหน้าจั่วประดับด้วยกาแลซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์
บ้านทรงไทย ทางภาคเหนือ

ประตูหน้าบ้านเป็นไม้แผ่นทึบ มีสลักไม้ชั้นในเป็นกลอนประตูอย่างเช่น
สลักบานสมัยอยุธยาหน้า ต่างทางซีกขวาของตัวบ้านเป็นไม้แผ่นทึบ มีสลักเป็นกลอนหน้าต่างฝากระดานใช้ไม้สักกว้างประมาณ 20-24 นิ้ว
แล้วแต่ความ เหมาะสมของสถานที่ เสาบ้านยังลึกลงไปใต้ดินประมาณ 1.2 เมตร แต่ตอนหลังเหรงว่าไม่ที่ยังฝังลงไปในดินจะมีการผุกร่อน เนื่องจากความชื้นของดินและการกัดกินของแมลง คุณพ่อกิจจา
จึงได้ขุดดินใต้ถุงออกไป ลึกประมาณ 1 เมตร และแกะสลักโคน เสา เทปูนลาดพื้นอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ชั้นล่างของบ้าน บางส่วนจะจัดทำเป็นโชว์รูม และที่จำหน่ายสินค้าเพื่อเป็นของที่ระลึก เมื่อท่านได้ขึ้นมาเดินชมบ้านประทับใจ แล้วจะรู้สึกว่าตัวบ้านมีความกว้างใหญ่มาก โดยเฉพาะตัวบ้านนั้นมีเนื้อท
ี่ประมาณ 1 ไร่ 3 งานเศษ ประกอบด้วย ห้องพักส่วน ตัว ชานมะปรางซึ่งเป็นชานนั่งเล่นที่มีร่มของต้นมะปรางประดับอยู่มีห้อง
พักรับรองแขกถึง 5 ห้อง ด้านหลังมีชานตะวันสำหรับ นั่งรับแสงแดดในตอนเช้า มีชุดรับแขกแกะสลักที่ทำจากไม้แผ่นเดียวให้ท่านชมตลอดทั่งโต๊ะยาว
ที่ทำจากไม้ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ เหลือจากการทำสัปทานไม้ของ บริทัท เอเซียติ๊ก
บ้านประทับใจ เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างแท้จริง เมื่อประมาณ กลางปี 2528 จนถึงปัจจุบันนี้ ท่านที่ได้เข้าชมหากมีข้อข้อง ใจอันหนึ่งอันใด เรายินดีชี้แนะให้รายละเอียดแก่ท่าน ในฐานะเจ้าของบ้านประทับใจต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยถ้าหากว่า การต้อนรับมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดตกบกพร่อง

ขอบคุณข้อมูลจาก phrae.go.th คนแพร่

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เมืองแพร่ แห่ระเบิด

ตำนานเรื่อง “เมืองแพร่ แห่ระเบิด”
โดยนาย ณรงค์จัน ทรางกรู ผู้เขียน/พิมพ์ เผยแพร่
เมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีมาแล้ว (พ.ศ.๒๕๐๔ - ๒๕๐๘) ผม (นายณรงค์ จันทรางกรู) ไปทำงานที่เมืองน่าน ทันทีที่เดินทางถึงที่ทำงาน ถูกทักทายเชิงล้อเลียนว่า “เมืองแพร่แห่ระเบิด” และถูกทักทายเสมอเมื่อพบปะผู้คนในท้องถิ่น ผมก็ไม่รู้ความหมาย ได้แต่หัวเราะแหะๆล่าสุดเมื่อ ๒-๓ เดือนมานี้ (พ.ศ.๒๕๕๒) ผมมีเรื่องราวที่ต้องคิดต่อประสานงานกับคนเมืองเชียงใหม่ (สุภาพสตรี) ทั้งๆที่เคยพบหน้ากันครั้งแรก คำทักทายของเขาก็คือ “เมืองแพร่แห่ระเบิด” ผมจึงเกิดความคิดว่าจะต้องศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ได้ ว่ามันมีความเป็นมาอย่างไร หมายความว่าอย่างไร หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปอีกเรื่อยๆก็รู้สึกสงสารคนรุ่นลูก รุ่นหลาน เกรงว่าเขาจะได้รับความอับอายเกิดปมด้อยที่เกิดมาเป็นคนเมืองแพร่ เป็นตัวตลกที่ถูกทักทายเชิงล้อเลียนอยู่เสมอเช่นนี้ จึงเริ่มการดำเนินสืบเสาะ สอบถามบุคคลทั่วๆไปจนทราบว่า เรื่อนี้มันเกิดขึ้นในท้องที่ อ.ลอง จ.แพร่ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ๖๕ ปีมาแล้ว ผมจึงได้ไปพบพี่อั๋น หรือ คุณสุรินทร์ โสภารัตนานันท์ อดีตสจ.หลายสมัย และอดีตเสรีไทยแพร่ บ้านเดิมอยู่หนองม่วงไข่ ปัจจุบันอยู่ที่บ้านตรงข้ามสนามกีฬา อ.ลอง จ.แพร่ เป็นผู้รู้เรื่องนี้ดี จึงได้พาพบไปพบใครต่อใครหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และอยู่ในเหตุการณ์กับเรื่องนี้เพื่อสอบถามเรื่องราวความเป็นมาอย่างไรแล้ว นำเรื่องราวนั้นมาปะติดปะต่อเป็นเรื่องใหม่ เพื่อร่ายต่อความเข้าใจและลำดับเหตุการณ์ได้ถูกต้องบุคคลที่คุณสุรินทร์ พาผมไปพบมีตัวตน และที่อยู่ชัดเจน อยู่ในเหตุการณ์จริงไม่ใช่ฟังเขาเล่าต่อมาอีกที ได้แก่
๑. พระสยุท์สากล อติพัทโท เจ้าอาวาสวัดแม่ลานเหนือ ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่
๒. นายสม ไชยแก้ว บ้านเลขที่ ๖๙ หมู่ ๙ ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่
๓. นายสมาน หมื่นขัน บ้านเลขที่ ๙๒/๖ หมู่ ๔ แม่ลานพัฒนา ต.ห้วยอ้อ
บุคคล ทั้ง 3 ต่างเล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มเดิมที่ นายหลง มโนมูล คนงานรถไฟสถานีแก่งหลวงได้ไปพบซากระเบิดที่ทิ้งจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธ มิตร ที่นำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามน้ำแม่ต้า (อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเด่นชัย อ.เด่นชัย กับสถานีรถไฟบ้านปิน อ.ลอง) เพื่อสกัดการเดินทางของญี่ปุ่นเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ปีพ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘) เป็นคนแรก จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขัน ทราบ นายสมานฯจึงได้ไปดู และขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟสถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ นายชุ่ม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพองนายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุดขึ้นมาจากหลุมทรายที่ถับถมอยู่มีจำนวน ๒ ลูก (มีขนาดความโตกว่าถังแก๊สชนิดยาว) และทำการถอดชะนวนระเบิดออกแล้วใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดควัก เอาเผ่า (ดินระเบิด) ออกแล้วเอาเผ่า (ดินระเบิด) ที่ควักออกมาได้นำไปประกอบสร้างระเบิดลูกเล็กๆขึ้นใหม่ได้หลายลูก แล้วเอาไประเบิดปลาที่แม่น้ำยม (ห้วยแม่ต้าไหลลงสู่แม่น้ำยมใกล้แก่งหลวง) ได้ปลามากินมากมายแล้วช่วยกันยกขึ้นใส่ล้อ (เกวียน) ลากมาพักไว้ที่บ้านแม่ลู้ ต. บ้านปิน ความหนักของลูกระเบิดที่นำขึ้นบรรทุกล้อ(เกวียน)ถึงกับทำให้ซ้างล้อ(คานของ เกวียน) หักต้องเปลี่ยนใหม่ (และวันที่เปิดพิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ ทางพิพิธภัณฑ์ได้ขอยืมลูกระเบิดของจริงจากวัดนาตุ้มนำมาแสดงโชว์ต้องใช้คน งานถึง ๖ คนจึงยกขึ้นใส่ปิ๊กอัพได้ นับว่ามีน้ำหนักมากคงจะหลายร้อยกิโลกรัม) ส่วนระเบิดลูกที่ ๓ ช่วยกันขุดด้วยแรงคนไม่ได้เพราะจมอยู่ในหลุมทรายลึกมาก จึงได้ไปตามนายบุญมา อินปันดี ซึ่งเป็นเจ้าของช้างลากไม้ในป่าบริเวณใกล้เคียง ให้นำช้างมาลากลูกระเบิดขึ้นจากหลุมได้ทำการถอดชนวน ตัดหาง และควักเอาเผ่า(ดินระเบิด)ออกบรรทุก(ล้อเกวียน) มาสบทบกันอีก ๒ ลูกที่นำออกมาก่อนแล้วที่บ้านแม่ลู้ ต. บ้านปิน จากนั้นก็ลากโดยบรรทุกล้อ(เกวียน) มุ่งเข้าสู่หมู่บ้าน ชาวบ้านสองข้างทางทราบว่าข่าว และเห็นล้อ(เกวียน)บรรทุกลูกระเบิดตามกันมา ๓ คันต่างก็เดินตามกันมา เป็นขบวนยาว ผ่านหน้าบ้านผู้ใดต่างก็เดินเข้ามาสบทบเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยจนมาถึงบ้านแม่ ลานเหนือใกล้วัด ชาวบ้านยิ่งออกมาดูกันมากขึ้น ชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่อยู่ใกล้วัดได้นำฆ้อง -กลองยาว-ฉิ่ง-ฉาบออกมาต้อนรับขบวนแห่เหมือนกันต้อนรับขบวนของ กฐิน หรือผ้าป่าทำนองนั้นแล้วแห่เข้าวัดทำการถวายลูกระเบิดให้เป็นสมบัติของวัด เพื่อเป็นระฆัง ส่วนระเบิดลูกที่ ๒ ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ สำหรับระเบิดลูกที่ ๓ ขบวนแห่นำไปถวายวัดนาตุ้ม ต.บ่อเหล็กลอง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนางจันทร์ฯ ผู้เป็นภรรยาของนายบุญมา อินปันดี เจ้าของช้างปัจจุบัน(ปีพ.ศ.๒๕๕๒) ลูกระเบิดลูกที่ ๑ เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ต.ห้วยอ้อ ลูกระเบิดลูกที่ ๒ เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ ส่วนระเบิดลูกที่ ๓ เก็บไว้ที่วัดหน้าตุ้ม ต. บ่อเหล็กลอง ทางวัดได้จัดสร้างหอระฆังสูงไว้รองรับสวยงามมาก(ดังรูปภาพ) ส่วนลูกที่ ๒ ทางวัดยังไม่ได้สร้างหอไว้รองรับ ต่อไปคงจะต้องสร้าง สำหรับระเบิดลูกที่ ๑ เก็บแขวนไว้ใต้ถุนกุฏิ แต่หลังจากมีผู้นิยมเล่นของเก่าชนิดหายากและแปลกๆได้มาขอซื้อโดยเสนอในราคา หนึ่งล้านบาทชาวบ้านจึงเห็นว้ามีราคามากจึงมติว่าไม่ขาย และเกิดหวงแหนเห็นคุณค่า เกรงจะถูกลักขโมย จึงได้สร้างห้องลูกกรงเหล็กดัดล้อมรอบไว้ และต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ต่อไปคงต้องสร้างหอไว้รองรับ ซึ่งที่เกิดจากการเคาะนั้นดังเหมือนเสียงระฆังดังก้องกังวานได้ยินไปไกลมาก ตามเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเรื่องที่มาของคำว่า “เมืองแพร่แห่ระเบิด” คนแพร่ที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดแต่อย่างใดแถมยังนำไปใช้ ประโยชน์ได้ถึง ๒ อย่างคืออย่างแรกเอาเฝ่า (ดินระเบิด) ที่ควักออกไปประกอบเป็นระเบิดลูกเล็กๆ ได้อีกหลายลูกแล้วเอาไประเบิดปลาที่แม่น้ำยม ได้ปลามากินเป็นอาหารจำนวนมาก ส่วนประโยชน์ที่ ๒ ได้นำไปใช้เป็นระฆังของวัดได้ถึง ๓วัด หากว่ากองทัพอเมริกันพบว่าชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ในเรื่องวัตถุระเบิด สามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเอาอาวุธประสิทธิภาพสูงสุดและดัดแปลงมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่า จะต้องทึ่ง และชื่นชม จึงนับเป็นความภาคภูมิใจของคนเมืองแพร่
ลูก-หลาน คนเมืองแพร่จงยิ้มรับความภาคภูมิใจที่ได้รับความภาคภูมิใจที่ได้รับการ ทักทายเช่นนั้นเมื่อรู้ความจริงแล้วไม่ต้องอับอายหรือเกิดปมด้อยแต่อย่างใด ให้คิดเสียว่าเขาทักทายด้วยความชื่นชมเรื่องนี้ถือเป็นเกียรติประวัติของคน เมืองแพร่ต้องขอขอบคุณเขาด้วยซ้ำ (ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้กรุณาให้ข้อมูลในเรื่องนี้)
สวัสดีครับ
ณรงค์ จันทรางกรู
๑ หมู่ ๗ ถนนแพร่-ลอง
ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐
คนเมืองแพร่ /ผู้เขียนเรียบเรียงเรื่องราว
๐๘๑-๔๘๙๒๑๓๑

ตำนานผีล้านนาตอนผีหัวหลวง

ตำนานผีล้านนาตอนผีหัวหลวง
อันว่าตำราล้านนาว่าด้วยเรื่องผีหัวหลวงนั้นมีมากหลายแหล่ ต่อนี้จักอู่เรื่องผีหัวหลวงล้านนาเกี่ยวกับก๋ารอยู่ของผีหัวหลวง หากผู้ใดสนใจ๋ก็เจิญอ่านเต๊อะว่าดั่งอี้เน้อ….
หากวันใดเมื่อใดผู้คนทั้งหลายจักกระทำพิธีอันเป๋นมังกะละมงคลห้ามเบ่น หน้าหรือหันหน้าไปทางทิศที่ผีหัวหลวงอยู่จักฉิบหาย จักเสียข้าวของเงินคำแต๊แหล่ บ่ว่าจักไปค้าขาย หรือไปเล่นเสี่ยงโชคลาภหื้อจ๋ำจื่อและพิจจารณาเอาเต๊อะ ทิศหรือตางที่ผีหัวหลวงอยู่มีดั่งนี้ว่าอั้น
วันอาติ๊ด(อาทิตย์)ผีหัวหลวงอยู่ปล๋ายไม้ ห้ามแหงนผ่อดูปล๋ายไม้เมื่อยามออกจากบ้าน
วันจั๋น(จันทร์)ผีหัวหลวงอยู่ตางทิศตะวันออกห้ามเตียวตางไปหากิ๋นหรือ นั่งเบ่นหน้าผินหน้าไปทางนี้จักเสียทรัพย์ จักมีอนตะราย(อันตราย)
วันอังการ(อังคาร)ผีหัวหลวงอยู่ตางทิศตะวันตกห้ามเตียวทางหรือเบ่นหน้าไปทิศนี้บ่ดี เล่นก๋ารพนันก็หมดเสี้ยงเงินคำแต๊แหล่
วันปุ๊ด(พุธ)ผีหัวหลวงอยู่ตางทิศหนอากาศหมายว่ามันอยู่ในอากาศหั้นแล ห้ามขึ้นที่สูงจั้กตกมาต๋าย ห้ามเตียวทวนกระแส(อ่านขะแส)ลมวันนี้หากบ่อั้นจักเกิดพินาศเป๋นเสนียดจัญไร แก่ต๋นแล
วันผั้ด(พฤหัสบดี)ผีหัวหลวงอยู่บนฟ้า ห้ามแหงนผ่อฟ้าเวลายามเมื่อออกจากบ้านเกหา(เคหา)จักเป็นเสนียดแก่ต๋น ไปค้าขายก็บ่ได้ดั่งใจ๋ มันแก๋น(อับโชค)บ่มีไผมาซื้อสินค้าสินค้าเคิ้น(เหลือ)เน่าเสี้ยงแล
วันสุ้ก(ศุกร์)ผีหัวหลวงมันอยู่ตางทิศใต้ ห้ามออกบ้านทางทิศใต้หรือไปค้าขายเสี้ยงโชคทางนี้หรือนั่งเบ่นหน้าไปทิศใต้ จั่กบ่จ๋ำเริญแหล่
วันเสา(เสาร์)ผีหัวหลวงอยู่ทิศเหนือห้ามไปแอ่วแหวงทางนี้หรือนั่งเบ่น หน้าหันหน้าไปทิศเหนือจั่กเป๋นตุ๊ก(ทุกข์) เสี่ยงโชคลาภก็บ่ได้แก๋นแต๊ๆว่าสะนี้แล….
มีเจี้ยเกี่ยวกับเรื่องแก๋นหรืออับโชคว่า
นายมอยมันเลี้ยงไก่ชนไว้ตั๋วนึ่ง เมื่อนำไปจาม(ทดลองชน)ก็ชนะทุกครั้ง ชนดี ลวดลายเก่งมีทั้งสอดทั้งแทง แต่เมื่อนำไปชนเล่นเงินเมื่อใดไก่เจ้ากรรมตัวนี้เป็นอันว่าก๊าน(แพ้)ทุกทีไป เพื่อนๆจึงบอกนายมอยว่าไก่มันแก๋นคือไก่บ่กิ๋นเงินหรือชนะ นายมอยจึงฆ่าแล้วเอาเนื้อไก่มาห่อหนึ้ง(ทำห่อหมก)ให้แม่บ้านนำห่อหนึ้งไปขาย แม่บ้านนำห่อหนึ้งเนื้อไก่แก๋นไปขายที่ตลาดนานเท่านานก็ไม่มีใครซื้อจึงนำ กลับมาบ้านเผอิญระหว่างทางมีคนขอซื้อห่อหนึ้งทั้งหมด แต่พอขอรับเงินคนซื้อกลับบอกว่า ” ขอแป๊ะก่อนเต๊อะ” (ขอเชื่อไว้ก่อนยังไม่มีเงิน)..แม่บ้านจึงเอ่ยว่า ” เอ้อไก่แก๋นแต๊ว่า จนก็บ่ได้เงิน แป๋งห่อหนึ้งก็ยังโดนแป๊ะ”(ชนก็ไม่ได้เงินเอาเนื้อทำห่อหมกขายก็ยังขอเชื่อ ไว้ก่อน) ถะแลม..ถะแลมๆๆๆๆ
เรื่องผีหัวหลวงก็จบลงเท่านี้แล…ลุงหนานก็ขอลาไปก่อนแลนายเฮย
ตำนานผีล้านนาตอน”ผีดอกงิ้วแดง”
อย่างเข้าเดือนเจ็ดในล้านนาราวปี พ.ศ. 2512 คืนเดือนเสี้ยวแหว่งดวงด้านตะวันออก บรรยากาศชวนให้คนชอบหาปลาออกไปทอดแหตามริมฝั่งแม่น้ำปิง..
สองสหายพากันสะพายแห…ในมือถือก๋งสะติก(หนังสะติ๊ก)อาศัยแสงเดือนเสี้ยว เดินเลาะไปตามฝั่งแม่น้ำปิง พลันเห็นหนูพุกตัวโตกำลังกัดกินรากเหง้ากอต้นอ้ออย่างเอร็ดอร่อย..
“เฮ้ย..อ้ายจั๋น นั่นหนูพุก”…ยังไม่ทันลดเสียงแต่มืออ้ายจั๋นมันไวกว่ายิงหนังสะติกโพละ เข้าให้..เจ้าหนูพุกตัวโตหล่นลงน้ำพร้อมกอรากอ้อ…
“ตายแน่นอน..”เสียงร้องสองสหายพร้อมกัน ขณะที่วิ่งเหยาะเข้าหาเป้าหมายร่องรอยน้ำกระเพื่อมที่หนูตกลงในน้ำ..
ระดับน้ำเพียงท่วมหลังเท้า แต่ไม่เห็นแม้แต่เงาของหนู น้ำที่กระเพื่อมระรอกกลับสงบนิ่งเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น….
ซ่า…ซ่า….ทรายเม็ดใหญ่น้อยถูกขว้างสาดเข้าใส่ถูกสองสหาย แต่เมื่อถูกตัวสองสหายตกลงน้ำเม็ดทรายกลายเป็นดอกงิ้วแดง..
ทั้งอ้ายจั๋นและอ้ายดีสองสหายรู้ทันทีตามประสบการณ์ที่เคยผ่านร้อนหนาวมา ว่าผีเอากูแน่แล้ว รีบระนึก(ร่าย)พระคาถาชื่อว่า “ช้างน้ำน้อย”ที่ผู้คนหากินทางน้ำนับถือกันว่า” โอมจ๊างน้อยงาแดงแตงแม่น จ๊างน้อยแกว่นแตงเงา…” เท่านี้เองห่าฝนทรายที่ซัดสาดก็หยุดเหลือแต่ดอกงิ้วแดงลอยฟ่อนอยู่บนผิว น้ำ….
สองสหายต่างพากันหยุดหาปลาและกลับบ้านไปเล่าเหตุการณ์ให้ชาวบ้านที่กำลังนั่งล้อมวงจักตอกในหมู่บ้านฟัง..
….รุ่งเช้าชาวบ้านเห็นผู้คนหมู่บ้านฝั่งตรงกันข้ามพากันลงงมหาศพหนุ่ม คนหนึ่งที่ออกจากบ้านไปหาปลาแต่ไม่กลับบ้านตลอดคืน ..พบศพจมอยู่ในตมริมเกาะกลางแม่น้ำปิงเพราะพี่แกออกมาหาปลาเกิดเป็นลมชักฟุบ ลงในน้ำตายใกล้กับท่าน้ำที่ผีเอาดอกงิ้วแดงขว้างปาสองสหายนั่นเอง
เหตุการณ์ผีขว้างทรายก็จบลงเพียงเท่านี้ก่อนแลนายเฮย…
ตำนานผีล้านนาตอนนกผีสั่งสรีสวัสดีหมู่เฮายามใกล้ปี๋ใหม่เมือง..แถมบ่เมินผีปู่สังขานต์ก็จะล่องคนเฮา จะแก่ไปแถมปี๋หนึ้งหลังจากวันผัดที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๕. ๐๖ น.ซึ่งเป๋นวันพญาวันปู๊นก่อนเน้อจะเป็นเปิ้งงัว(เป้า)ขณะนี้วันที่ 1 เมษายน 2552 กำลังเป๋นปี๋หนู(ไจ้)ไปจนถึงวันปุ๊ดที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๒…
วกมาเรื่องผีๆแถมเมาะคิดถึงพวกเรามากๆ..มีเวลาก็มานั่งเล่าสู่กันฟัง เพราะไปเมืองสามหมอกกับเพื่อนๆขณะที่นั่งรถไปไอ้เพื่อนมันก็เล่าเรื่องที่ เขาพบด้วยตนเอง ตามรายทางแต่ละแห่งที่เคยมีเหตุการณ์ อย่างเช่นตอนที่ผ่านป่าเขาเล่าว่าตรงนี้แหละมาสองครั้ง เจ้านกผีมันก็มาทำเอาตกใจสองครั้งเหมือนดั่งแกล้ง
ไอ้ตัวผมก็เลยบอกว่าเออนั่นแหละนายเฮยเขาว่ากันคือนกผี เพราะเรามาว่าความให้แก่เจ้าทุกข์ที่มีเรื่องฟ้องร้องกันกับคนชาวดอย คนพวกนี้เขามีคุณไสย์ที่เรียกกันภาษาล้านนาว่าการตู้
ตู้คือการเสกสิ่งของให้เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วบินไปยังคนที่เป็นศัตรูคู่คดีความ
ใส่ คือการเสกสิ่งของใส่ในอาหาร น้ำให้ศัตรูพ่ายแพ้หรือเป็นอันตรายตามที่ต้องการ
เจ้าเพื่อนมันเลยเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเขาว่า ครั้งแรกมาว่าความพาเอาเจ้าทุกข์นั่งมาด้วย พอผ่านโค้งเกิดมีนกตัวใหญ่มันบินเข้าโถมใส่ด้านหน้ารถดังสนั่นทุกคนตกใจ แต่พอหยุดรถลงดูก็ไม่เห็นมีอะไร เจ้านกตัวนั้นก็ไม่รู้จักว่ามันเป็นนกอะไร จะว่านกแร้งก็ไม่ใช่ นกยูงก็ไม่มี แต่ก็นั่นแหละเราก็นึกกันว่ามันเป็นเหตุที่สุดวิสัยก็พากันขับรถต่อไปจนว่า ความเสร็จ ศาลสั่งนัดกันวันใหม่
ถึงวันนัดก็พากันมาตามเส้นทางเดิม พอผ่านป่าใจนึกอยากจะเปิดกระจกนั่งขับรถกินลม แต่ก็ลืมไปว่าครั้งก่อนใกล้ๆกันนี่แหละเคยมีนกบินลงชนกระจกหน้ารถ พอเปิดกระจกขับไปราวสองสามกิโลจู่ๆนกเจ้ากรรมบินเข้ามาขี้ราดลงตัก ทำเอาพวกเราตกใจ แต่นกเจ้ากรรมมันก็บินเล็ดรอดออกจากหน้าต่างรถออกไปหายแส้บหายสอย ต้องจอดรถลงล้างขี้นกในห้วยข้างถนน เสร็จแล้วก็ขับรถขึ้นศาลว่าความกันต่อไป
เหตุการณ์สองครั้งทำให้ต้องสืบเสาะให้รู้ว่ามันไม่ใช่นกธรรมดาแน่ คราวนี้แหละจึงพาคนที่มีคาถาอาคมมาด้วย จึงโล่งลอดปลอดตลอดทางเจ้านกผีสั่งไม่เห็นบินมารบกวน หรือว่าฝ่ายคดีความตรงกันข้ามไม่กล้าลองของ แต่ที่แน่ๆก็ชนะคดีความกันไปตามหวัง
ตำนานผีล้านนาตอนมีดแหกผีไอสูร
ก่อนที่จะเล่าเรื่องมีดแหกผีไอสูรก็ต้องขอสุมาอภัยพวกเราทั้งหลาย ละเว้นเป็นเวลาเนิ่นนานที่จะมาเล่าเรื่องผีๆ…
เพราะลุงหนานไปแสวงบุญที่เมืองเชียงตุง ไปถวายทานผ้าป่า ร่วมงานปอยหลวงฉลองพระวิหารแบบไทเขิน เพิ่งกลับมาก็เลยรีบมาเล่าขานตำนานผีล้านนาต่อจากเมื่อก่อน
อันว่าไอสูร หรือที่ผู้คนทั่วไปเรียกกันว่ารามสูรนั่นแหละครับ แต่ผู้คนล้านนาบางท้องถิ่นเรียกรามสูรนี้ว่าผีไอสูรเพราะมันไม่มีตัวตนเพียง แต่จู่ๆก็มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมา ก็เลยเหมาเอาว่าเป็นเรื่องของผีๆๆๆ ว่างั้นเถอะ
พวกเราคงได้เรียนเรื่องฟ้าร้องฟ้าผ่ากันมาแล้วว่า ฟ้าผ่าจะมีกระแสไฟฟ้าจากฟ้าลงมาสู่ดิน หากมันผ่าที่ใดที่นั่นก็จะต้องเสียหายแตกกระจายปี้ป่นแหลกลานเป็นแถบๆ แต่บางครั้งกระแสไฟฟ้ามันพุ่งจากดินขึ้นไปสู่ก้อนเมฆ อันนี้แหละมันกลับข้างกัน ทำให้กระแสไฟฟ้าจากดินสู่เบื้องบนไปปะทะกับสิ่งของใดๆ มันต้องแหลกลานไปเช่นกัน โดยเฉพาะกระแสไฟฟ้าหรือที่รามสูรยิงขึ้นฟ้านั้นผ่านต้นไม้ใด ย่อมทำให้ต้นไม้หรือบางครั้งอาจเป็นสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ.ต้องเสียชีวิตลงฉับพลัน ต้นไม้ หรือสัตว์ที่เสียชีวิตเพราะไอสูรยิงนี้แหละ พ่อหมอ แม่หมอพื้นบ้านจะนำเอามาทำมีดแหก คือเอามีดมาลากครูดเบาๆตามผิวหนัง บวมพอง หรือเป็นอาการที่มีโรคใดโรคหนึ่ง
เมื่อทำรูปมีดแล้ว พ่อหมอ แม่หมอจะเขียนพระคาถาลงไปในมีด ในวันเดือนดับ (แรม 14หรือ 15 ค่ำ)เพราะถือว่ามันดับพิษ ภัย โรคร้ายต่างๆนั่นเอง
การเขียนพระคาถาลงบนมีดหมอหรือมีดแหก จะขึ้นต้นด้วยคำว่า..สะ หะ วะ…….. ลงท้ายด้วยคำว่า ยะ…เมื่อเขียนเสร็จจะนำมีดหมอหรือมีดแหกไปไว้ที่หิ้งผีครู เมื่อมีคนไข้มาขอรักษาพ่อหมอ หรือแม่หมอจะนำมีดแหกมาเสกเป่า แล้วนำมีดกดลงที่จะแหก แล้วลากมีดลงมาตามพิธีกรรมเพื่อแหกดันเอาพิษร้ายออกจากร่างกาย คนไข้ก็จะหายจากอาการไข้ด้วยมีดแหกผีไอสูร
นี่ก็เป็นวิธีการหนึ่งของการรักษาโรคด้วยความเชื่อเรื่องผีของผู้คนบางท้องถิ่นในล้านนา
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://gotoknow.org/blog/nhanphromma?page=3
ภาพ จาก google

วีรบุรุษเมืองแป้ [พระยาไชยบูรณ์]

พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร)
ผู้สร้างวีรกรรรมที่เมืองแพร่

พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่คนแรก และเป็นผู้มีความกล้าหาญ ความจงรักภักดี และความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงาน พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่) ได้ถูกพวกเงี้ยวซึ่งก่อการจลาจลขึ้นที่เมืองแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ฆ่าตายที่บ้านร่องแวงอย่างทารุณ ต่อมาทางรัฐบาลสยามได้ปราบปรามพวกก่อการจลาจลเงี้ยวสงบราบคาบดีแล้ว ก็ได้สร้างอนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ไว้ ณ หลักกิโลเมตรที่ ๔ ถนนสาย แพร่ – น่าน ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ไปทางอำเภอสูงเม่น เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของท่านผู้นี้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี”


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองจากแบบเจ้าผู้ครองนครมาเป็นแบบเทศาภิบาล โดยลดอำนาจเจ้าผู้ครองนครลง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าหลวงกำกับเมืองมาช่วยราชการแผ่นดิน ที่เมืองแพร่ในขณะนั้นเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์อุดร (น้อยเทพวงศ์) เป็นเจ้าผู้ครองนคร และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่) มาเป็นข้าหลวงกำกับเมืองแพร่เป็นคนแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐

พระยาไชยบูรณ์มาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑) ได้มีพวกเงี้ยว (ไตใหญ่) ซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษ และได้เข้ามาอาศัยทำมาหากินอยู่ในเมืองแพร่พวกหนึ่ง กับพวกที่มาจากเชียงตุงพวกหนึ่ง ได้สมคบกันก่อการจลาจล และได้จับข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่ (คือ พระยาไชยบูรณ์) ตำรวจ และราษฎร์ชาวไทย (ภาคกลาง) ทั้งชายหญิงและเด็กฆ่าเสียอย่างทารุณ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎา รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๑ เวลาเช้า (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๕)

พวกก่อการจลาจลเงี้ยว อันมีพะกาหม่อม สล่าโป่ซาย จองแข่เป็นหัวหน้า คุมพรรคพวกประมาณ ๕๐๐ คนเศษ เข้าตีโรงตำรวจนอกประตูไชย เวลา ๑ โมงเช้า ขึ้นไปบนโรงพักไล่ฟันตำรวจแตกตื่นหนีไปหมด หาได้ทันต่อสู้ไม่ เพราะไม่ทันรู้ตัว ตำรวจภูธรถูกฟัน ๔ คน แต่หาถึงแก่ชีวิตไม่ มีแต่อำแดงคำภรรยาของนายร้อยตรีตาด ได้เอาปืน ๖ นัดยิงพวกโจรเงี้ยว แต่หาเป็นอันตรายอย่างใดไม่ พวกโจรเงี้ยวจึงเอาดาบไล่ฟันอำแดงคำกับบุตรเลี้ยงตายด้วยกันทั้งคู่ แล้วพวกโจรเงี้ยวก็พากันเก็บเอาอาวุธปืนของหลวง แล้วพากันเข้าไปในเมือง ผ่านทางประตูไชยเข้าไป เอาปืนยิงเข้าไปในโรงไปรษณีย์โทรเลข เก็บเอาเครื่องใช้และทุบเครื่องโทรเลข โทรศัพท์ หม้อแบตเตอรี่ สรรพหนังสือต่างๆ และบัญชี ทำลายสิ้น นายถมยา จีนบ๋าพนักงานไปรษณีย์โทรเลขหลบหนีไปได้ กระสุนปืนที่พวกโจรเงี้ยวยิงไปถูกจีนติดซึ่งขายหมูอยู่ในตลาดหลวงตายคนหนึ่ง

ต่อจากนั้น พวกโจรเงี้ยวก็ยิงเข้าไปในบ้านพระยาราชฤทธานนท์ข้าหลวงหลายสิบนัด กระสุนปืนถูกบ่าวข้าหลวงตาย ๑ คน บาดเจ็บไปหลายคน ส่วนพระยาฤทธานนท์ข้าหลวงและบุตรภรรยาหลบหนีไปได้ พวกโจรเงี้ยวเข้าไปเก็บเอาทรัพย์สิ่งของไปหมด แล้วพวกโจรเงี้ยวก็ยิงเข้าไปที่ที่ว่าการจังหวัดแพร่ แล้วขึ้นไปเอาขวานผ่าง้างกำปั่น เก็บเอาเงินหลวงไปประมาณ ๓๙,๐๐๐ บาท ทำลายของของเครื่องใช้ตลอดจนเอกสารต่างๆ เสียหายไปหมด แล้วพวกโจรเงี้ยวก็คุมพรรคพวกตั้งอยู่ที่ที่ว่าการจังหวัดแพร่ บางพวกก็พากันยิงเข้าไปที่ศาลยุติธรรม (ศาลจังหวัดแพร่) และยิงเข้าไปที่บ้านของนายเฟื้องผู้พิพากษา ผู้พิพากษาหลบหนีไปได้ พวกโจรเงี้ยวเข้าไปเก็บเอาทรัพย์สิ่งของไปหมดสิ้น แล้วพวกโจรเงี้ยวเข้าไปที่บ้านพะทำมะรง ๆ หนีไป พวกโจรเงี้ยวก็เปิดเอาพวกนักโทษออกจากเรือนจำ เอาขวานผ่าง้างเอาโซ่ตรวนออก พวกนักโทษเลยเข้าสมทบกับพวกโจรเงี้ยว เที่ยวปล้นพวกข้าราชการ มีบ้านหลวงวิมล นายแขวง (คือนายอำเภอ) เก็บเอาทรัพย์สิ่งของไปแบ่งกัน ในวันเดียวกันนั้น เวลาราวบ่าย ๓ โมง พวกโจรเงี้ยวได้ไปคุมเอาตัวเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ และเจ้านายอื่นๆ มีเจ้าราชวงศ์ เจ้าบุรี เจ้าราชบุตร พระวังซ้าย พะวิไชยราชา พระคำลือ พระไชยสงคราม พระเมืองไชย นายน้อยสวน ไปยังสนามที่ว่าการจังหวัดแพร่ แล้วพวกโจรเงี้ยว ซึ่งมีนายร้อยสล่าโป่ซายเห็ดแมน นายร้อยพะกาหม่อง นายร้อยปู่ออ นายร้อยจองแข่ นายร้อยจองติ นายร้อยจีนนะเห็นแมน นายร้อยจะก่า ปู่จอตังอู่ นายร้อยหม่อมโม นายร้อยส่างมน นายร้อยจองทุน นายร้อยจองคำ เป็นหัวหน้า ได้บังคับให้เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ และเจ้านยที่จับกุมตัวไปนั้น ทำหนังสือปฏิญาณต่อกันไว้ มีความว่า

๑. เดิมเมื่อปี ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) มีพระยาราชฤทธานนท์มาเป็นข้าหลวงประจำเมืองแพร่ ได้ทำการกดขี่ข่มเหงบรรดาพวกเจ้านายแลราษฎรแลพวกลูกค้า มีพม่า ต้องซู่ เงี้ยว ที่เข้ามาอาศัยแขวงเมือง ได้ความเดือดร้อนเป็นอันมาก

๒. ครั้นถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ศกนี้ (พ.ศ. ๒๔๔๕ เวลาเช้า ๑ โมง มีพวกลูกค้าทั้งหลายได้คบคิดกันมาปราบปรามกำจัดพวกข้าหลวงไทยแตกหนีไปจาก เมืองแล้ว

๓. เจ้านายกรมการ พร้อมด้วยลูกค้า ได้พร้อมใจกันมอบบ้านเวนเมืองคืนถวายไว้กับเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ ให้เป็นเจ้าปกครองบ้านเมืองต่อไป

๔. ต่อไปเมื่อหน้าถ้าบังเกิดศึกทางฝ่ายใดขึ้นมาเวลาใดก็ดี เจ้านายกรมการและลูกค้าที่มีชื่ออยู่ท้ายหนังสือนี้ ต้องช่วยกันปราบปรามข้าศึกศัตรูด้วยเต็มกำลังทั้งสองฝ่าย

เมื่อทำหนังสือสัญญาดังกล่าวแล้ว ก็มีการดื่มน้ำสบถทำสัตย์สาบานต่อกัน แล้วพวกโจรเงี้ยวก็แบ่งกำลังติดตามพระยาราชฤทธานนท์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และข้าราชการคนไทย (ภาคกลาง) ไป สำหรับคนพื้นเมืองพวกโจรเงี้ยวไม่ทำอันตราย เจ้านายเมืองแพร่ที่เข้าด้วยพวกโจรเงี้ยว มีเจ้าน้อยไจลังกา ส่วนเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์และเจ้านายอื่นๆ ที่ปรากฏนามนั้นได้ให้การต่อ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (ฐานันดรศักดิ์และตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าถูกพวกโจรเงี้ยวบังคับ จึงจำใจต้องทำสัญญากับพวกโจรเงี้ยวด้วยความรักชีวิต

ฝ่ายพระยาฤทธานนท์ ข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่นั้น เมื่อพวกโจรเงี้ยวระดมยิงโรงพัก ก็ได้ใช้ปืนยิงต่อสู้หลายนัด เมื่อเห็นพวกโจรเงี้ยวมีกำลังมากกว่า ก็วิ่งหนีไปทางวัดพระร่วง เพื่อรายงานให้เจ้าหลวงเมืองแพร่ทราบ และขออาวุธและเกณฑ์กำลังคนต่อสู้กับพวกโจรเงี้ยว และได้พบกับขุนพิพิธโกษากรณ์ ข้าหลวงคลัง หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วย นายสมบุตร สมุห์บัญชีแขวง นายแม้น พนักงานอัยการแพร่ และนายสวัสดิ์ รองเสนาตำแหน่งนา ซึ่งมาหลบซ่อนอยู่ก่อน พระยาราชฤทธานนท์และข้าราชการพวกนั้น ได้วิ่งไปที่คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่อีก เพื่อจะพบเจ้าหลวงและขออาวุธ แต่ไม่พบเจ้าหลวง พบแต่พระยาไชยสงครามและเจ้าราชบุตร ก็ทราบว่าเจ้าหลวงหนีไปอยู่ที่ห้างบอมเบเบอร์ม่า เมื่อไม่พบเจ้าหลวง พระยาราชฤทธานนท์ก็หนีต่อไปอีก โดยมีนายแม้นพนักงานอัยการไปด้วย ส่วนพวกข้าราชการนอกจากนี้ ถูกพวกโจรเงี้ยวไล่หนีออกไปอีกทางหนึ่ง

พระราชฤทธานนท์จึงให้นายแม้นไปเกณฑ์ราษฎรที่บ้านกาศ เพื่อจะมาต่อสู้พวกโจรเงี้ยว นายแม้นจึงไปยังบ้านกาศ และให้บุตรแคว่น (กำนัน) ไปตามพระกันทคีรี นายแขวง (นายอำเภอ) เมืองแพร่ ซึ่งขณะนั้นไปราชการปักหลักเขตแคว่น (เขตตำบล) ที่บ้านกวาง ปรากฏว่าเกณฑ์ราษฎรได้ประมาณ ๘๐ คน จึงนำมายังเมืองแพร่ เพื่อจะพบกับพระยาราชฤทธานนท์ แต่ไม่พบคงพบแต่นายน้อยขัด นายแคว่น (กำนัน) จึงได้ให้นายน้อยขัดไปที่บ้านพระยาพิไชยราชา เสนาตำแหน่งคลัง เพื่อถามถึงกำลังและที่พักของพวกโจรเงี้ยว พระพิไชยราชาแจ้งว่า อย่าต่อสู้พวกเงี้ยวเลย เพราะเกรงพวกโจรเงี้ยวจะฆ่าเอา ให้รีบหนีเอาตัวรอดเถิด เพราะพวกโจรเงี้ยวจะฆ่าแต่เฉพาะคนไทย (ภาคกลาง) เท่านั้น ส่วนคนพื้นเมืองไม่ทำร้าย พระกันทคีรี นายแม้น และราษฎรที่ถูกเกณฑ์มา ก็มีความท้อถอย ต่างคนต่างก็แยกกันหนีไป โดยไม่ได้การต่อสู้แต่อย่างใด

ฝ่ายพระยาราชฤทธานนท์ เมื่อนายแม้นไปเกณฑ์ราษฎรแล้ว เกรงว่าพวกโจรเงี้ยวจะมาพบเข้า จึงหนีไปยังบ้านร่องกาศ ก็ถูกแคว่น (กำนัน) และแก่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) ร่องกาศจับตัวส่งให้พวกโจรเงี้ยว เงี้ยวจึงนำตัวพระยาราชฤทธานนท์ พร้อมกับพลตำรวจคนหนึ่งเข้ามาเมือง แต่พอถึงร่องแวง พวกโจรเงี้ยวก็ฆ่าพลตำรวจเสีย ส่วนพระยาราชฤทธานนท์นั้น เมื่อมาถึงบ้านร่องคาว พวกโจรเงี้ยวก็ใช้ดาบฟัน ๓ ครั้ง ครั้งแรกฟันถูกหู ครั้งที่สองฟันถูกตา ครั้งสุท้ายฟันถูกท้องจนถึงแก่ชีวิต ณ ที่นั่นเอง แล้วพวกโจรเงี้ยวตัดศีรษะพิงเสากระดานป้ายไว้ พระยาราชฤทธานนท์ถูกฆ่าตาย วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕

การที่นายแคว่น (กำนัน) แก่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) ร่องกาศจับตัวพระยาราชฤทธานนท์ส่งให้พวกโจรเงี้ยว เพราะพวกโจรเงี้ยวให้สินบนแก่ผู้ที่จับพระนยาราชฤทธานนท์ ๓๐๐ บาท และม้าอีก ๒ ตัว

ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม นั้น นอกจากฆ่าพระยาราชฤทธานนท์แล้ว พวกโจรเงี้ยวยังได้ฆ่าพระเสนามาต ๑ นายเกลี้ยง ๑ จ่านายสิบนายอ่วม ๑ พลตำรวจที่โรงพักสูงเม่น ๒ คน นายร้อยตรีตาด และพลตำรวจที่มาจากบ่อแก้วรวม ๓ คน

ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ พวกโจรเงี้ยวได้ฆ่าหลวงวิมลข้าหลวงผู้ช่วย ๑ หลวงศรีพิชัย ๑ นายร้อยตรีตาดตำรวจเมืองแพร่ ๑ นายไหลเสมียน ๑ อำแดงขาว อำแดงนาค ภรรยาขุนพิพิธ ๒ คน นายจันทร์ แทนนายแขวงยมเหนือ (เมืองสอง) และหนูศรีบุตรขุนพิพิธ ๒ คน

ครั้นในวันที่ ๒๘ – ๒๙ – ๓๐ – ๓๑ กรกฎาคม พวกโจรเงี้ยวก็จัดแต่งหัวหน้าคุมไพร่พล แล้วไปคอยดักด่านอยู่ที่เขาพลึงบ้าง บ่อแก้วบ้าง และตัวพะกาหม่องนั้นคุมพลไปตีเมืองลำปาง และตัวพะกาหม่องถูกปืนตายในที่รบ พวกโจรเงี้ยวเลยแตกหนีกลับมาเมืองแพร่

ฝ่ายพวกโจรเงี้ยวที่ยกไปทางเขาพลึง ได้ปะทะกับกองทัพของพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย) ที่ตำบลโป่งอ้อ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ พวกโจรเงี้ยวเสียชีวิตไป ๒๒ คน ป่วยและบาดเจ็บอีกหลายคน ฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิตทหารไป ๑ คน ถูกกระสุนปืน ๑ คน และคนส่งหนังสือถูกพวกเงี้ยวฆ่าตาย ๑ คน พวกโจรเงี้ยวที่ยกไปทางบ่อแก้วไม่ได้ปะทะกับฝ่ายรัฐบาล แต่เมื่อทราบข่าวว่าพวกของตนที่ปะทะกองทัพพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรแตกหนี ไป ก็ถอยกลับเข้าไปในเมืองแพร่

การที่พะกาหม่องคุมสมัครพรรคพวกก่อการจลาจลขึ้นครั้งนี้ ก็เพราะมีต้นเหตุดังที่หม่อมเจ้าพูนพิสมัย ดิศกุล ธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงไว้ในหนังสือ “แพร่ – น่าน” ว่า “ส่วนต้นเหตุของเรื่องนี้ ข้าพเจ้าเคยได้ยินจากเสด็จพ่อว่าเรื่องเดิมนั้น พะกาหม่องเป็นลูกหนี้เจ้านางแว่นทิพย์ น้องเจ้าฟ้าเชียงตุงอยู่ ๔,๐๐๐ บาท ไม่มีจะใช้ก็หนีมาอาศัยพวกพ้องอยู่ในเมืองแพร่ วันหนึ่งเห็นเขาขนเงินส่วยเข้าไปที่ศาลากลาง ก็นึกขึ้นว่า ถ้าได้เงินนี้ไปใช้หนี้ก็จะกลับไปบ้านได้ แล้วพะกาหม่องก็รวบรวมพวกพ้องบุกเข้าไปปล้นตามที่เล่ามานี้ เผอิญทำไดโดยสะดวก จึงเลยคิดการใหญ่ขึ้น จนเลยกลายเป็นกบฏไป”

เมื่อทางฝ่ายรัฐบาลสยามทราบเหตุการณ์จลาจลในเมืองแพร่ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพใหญ่ขึ้นมาปราบปรามพวกโจรเงี้ยว จนสงบราบคาบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ นั้นเอง


กบฏเงี้ยว

ส่วนเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่นั้น ด้วยความเกรงกลัวในความผิด ที่ไม่ต่อสู้ป้องกันบ้านเมือง และต้องสงสัยว่าคบคิดกับพวกโจรเงี้ยวก่อการจลาจล ซึ่งจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แม่ทัพใหญ่ยังไม่ได้สอบสวนความผิด ด้วยความเกรงพระราชอาญาดังกล่าว เจ้าหลวงเมืองแพร่จึงหนีออกจากเมืองแพร่ ในวันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ. ๒๑๒ (พ.ศ. ๒๔๔๕) โดยออกทางประตูศรีชุม มีผู้ติดตามไปคือ พระยาเทียมยศ นายหนานวัด กับราษฎรผู้ติดตามอีกประมาณ ๑๐ คน โดยเดินเลียบฝั่งแม่น้ำยมไปทางเหนือจนถึงบ้านแม่ลาย (แม่หล่าย) บ้านแม่คำมี บ้านห้วยอ้อย และเมืองลี ไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง ซึ่งในเวลานั้น ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส และอาศัยอยู่ที่เมืองหลวงพระบางจนสิ้นชีวิต ณ ที่นั้น

ฝ่ายนายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แม่ทัพใหญ่ ได้ทราบเหตุจากเจ้าราชวงศ์กับนางชื่นภรรยา ก็สั่งให้บุตรหลานและเจ้านายทั้งในเมืองแพร่ เมืองน่าน และส่งข้าราชการตำรวจทหารออกสกัดกั้น และสืบหาทางที่เจ้าหลวงเมืองแพร่ได้เล็ดลอดหลบหนีไปหลายสาย ก็ปรากฏว่าไม่พบ ต่อมาจึงทราบว่า เจ้าหลวงเมืองแพร่กับพวกหลบหนีออกไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางเสียแล้ว

ต่อมาวันที่ ๓๐ กันยายน ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) นายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์ทนตรี แม่ทัพใหญ่ ได้ประกาศให้ข้าราชการและราษฎรในเขตแขวงเมืองแพร่ และชนทั้งหลายทราบทั่วกันว่า

ข้อ ๑. เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๑ เวลาเช้า เจ้าพิริยะเทพวงศ์เจ้าผู้ครองนครแพร่ ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการหายไป โดยไม่ได้แจ้งว่าจะไปหรือมีธุระอันจำเป็นจะต้องไป และทั้งไม่ได้ขออนุญาตต่อผู้เป็นใหญ่ในหน้าที่ราชการด้วย

ข้อ ๒. ได้สั่งให้ข้าราชการ และเจ้านายบุตรหลานของเจ้านครแพร่ ออกไปติดตามโดยรอบคอบเกือบทั่วทั้งเมืองแพร่ เพื่อจะเชิญให้กลับมารับราชการตามเดิม ก็ไม่พบปะเจ้านครแพร่

ข้อ ๓. เหตุที่เจ้าพิริยะเทพวงศ์ ละทิ้งหน้าที่ราชการไปดังนี้ ก็เป็นอันเห็นได้ว่า เจ้าพิริยะเทพวงศ์ได้ตั้งใจหนีไป โดยไม่เต็มใจจะรับราชการฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกต่อ ไปแล้ว

ข้อ ๔. ตามกฎหมายของบ้านเมืองถือในพระราชกำหนดบทอัยการลักษณะขบถศึก มาตรา ๑๕ มีข้อความว่า ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ให้ผู้ใดครองเมืองรั้งเมือง ถ้าผู้นั้นละทิ้งหน้าที่ราชการบ้านเมืองของตนไปเสีย โดยไม่ได้ชี้แจงเหตุการณ์อันควรไป หรือไม่ได้ขออนุญาตต่อผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ในหน้าที่ราชการแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษเป็นอย่างเบาที่สุดก็คือ ให้ถอดออกจากหน้าที่ราชการที่ตนได้รับตำแหน่งอยู่นั้นเสีย

ข้อ ๕. กฎหมายบทนี้ ก็เป็นอันตรงกับหน้าที่ราชการในเวลานี้ที่จะใช้โดยเข้มแข็ง เพราะว่าบ้านเมืองได้เกิดจลาจลแล้ว ควรที่ข้าราชการต้องรับราชการฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เต็มสติกำลังใจของตน

เพราะฉะนั้น จึงประกาศให้ข้าราชการและราษฎรในเขตเมืองแพร่ทราบทั่วกันว่า

๑. เจ้าพิริยะเทพวงศ์กระทำความผิดลงแล้ว ครั้งนี้ต้องด้วยพระราชกำหนดบทพระอัยการศึกลักษณะขบถศึก ให้ถอดออกจากตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ลงเป็นไพร่ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ แล้วให้คงเป็นน้อยเทพวงศ์ตามเดิม

๒. ถ้าการต่อไป เจ้าพิริยะเทพวงศ์จะออกหมายหรือคำสั่งอย่างใดห้ามไม่ให้เชื่อถือเป็นอันขาด

๓. หน้าที่ข้าหลวงรักษาราชการเมืองแพร่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาศรีสุริยราชวรา นุวัตร เป็นผู้รั้งราชการต่อไป

ประกาศมา ณ วันที่ ๓๐ กันยายนรัตนโกสินทรศก ๑๒๑

เป็นอันว่าเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่ได้ถูกออกเป็น “นายน้อยเทพวงศ์” แต่นั้นมา ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนามสกุล “ณ แพร่” แต่เชื้อวงศ์ของเจ้าเมืองแพร่ยังมีเหลืออยู่ โดยแยกวงศ์ตระกูลเป็นหลายสาย คือ แพร่พันธุ์ (นามสกุลของนายโชติ แพร่พันธุ์ เจ้าของนามปากกา “ยาขอบ” ผู้เขียนวรรณกรรมอันลือชื่อเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ปัจจุบันบุตรชาย นายมานะ แพร่พันธุ์ เป็นบรรณาธิการ นสพ. พิมพ์ไทย) วราราช (นามสกุลของขุนวีระภักดี) วังซ้าย , เตมียานนท์ , แก่นหอม , หมายศปัญญา , และวงศ์บุรี เป็นต้น

วีรกรรมของพระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่) ซึ่งต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี” ซึ่งพยายามที่จะรวบรวมกำลังต่อสู้กับพวกโจรเงี้ยว แม้จะไม่มีอาวุธเพียงพอก็ตาม และในขณะที่พวกโจรเงี้ยวปล้นเมืองนั้น ก็มิได้มีความพะวงถึงครอบครัวบุตรภรรยา และทรัพย์สมบัติของตน โดยเห็นแก่บ้านเมืองเป็นส่วนใหญ่ ผลที่สุดต้องถูกพวกโจรเงี้ยวฆ่าตายอย่างทารุณ นับว่าเป็นผู้เสียสละชีพเพื่อประเทศบ้านเมืองอย่างน่าสรรเสริญ และเป็นตัวอย่างอันดีแก่ประชาชนทั่วไป ทางการจึงได้สร้างศิลาจารึกเป็นอนุสาวรีย์แก่พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดีไว้ ดังกล่าวแล้ว

หนังสืออ้างอิง

๑. ที่ระลึกในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรจังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๕๐๑
๒. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๘ (ปราบเงี้ยวตอนที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕
๓. จังหวัดแพร่ งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ๒๕๐๐

ขอบคุณ

แอดแป้บอร์ดดอทคอม