วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"ดอกยมหิน" ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่


"ดอกยมหิน" ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่
ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่
ชื่อสามัญ  Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์  Chukrasia velutina Roem.
วงศ์  MELIACEAE
ชื่ออื่น  โค้ โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ช้ากะเดา (ใต้), ยมขาว (เหนือ), ยมหิน มะเฟืองต้น สะเดาช้าง สะเดาหิน (กลาง), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทั่วไป  เป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยต่ำ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ สีเทาหรือ เทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบ เกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม  เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด
ป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป



                ต้นยมหิน เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่ ซึ่งต้นยมหิน ทางเชียงใหม่เรียกว่าโค้โย่ง ภาคใต้เรียกว่า ช้ากะเดา ภาคเหนือเรียกว่า ยมขาว ภาคกลางเรียกว่าสะเดาช้าง สะเดาหิน โดยไม้ยมหินนั้นเป็นไม้ต้นสูง 15-25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเทา แตกสะเก็ดและร่องตื้นๆ เปลือกชั้นในสีแดง กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีขนนุ่ม ใบประกอบแบบขนุน แกนใบยาว 25-60 เซนติเมตร มีใบย่อยที่ออกตรงข้ามกัน 4-10 คู่ และปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบย่อยรูปไข่แกนขอบขนาน ถึงรูปใบหอก ปลายแหลม ถึงเรียวแหลม โคนมน หรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ ก้านใบย่อยสั้นมาก ผิวใบเมื่อแก่เกลี้ยง เส้นแขนงใบย่อย 8-12 คู่ มีดอกเล็ก สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งผล รูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร เมื่อแก่แล้วจะมีสีดำ แตกเป็น 4-5 กลีบ นอกจากนี้ยมหินยังมีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ทั่วภาคของประเทศที่ความสูงระดับทะเลปานกลาง 150-800 เมตร ออกดอกเดือนกันยายน เนื้อไม้ลายสวยงาม ใช้ทำเครื่องเรือนและก่อสร้างในร่มได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น