วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อัพเดท ภาพกิจกรรมงาน "ยมหินถิ่นแพร่" อาชีวะเกษตรแฟร์ 2554

อัพเดท ภาพกิจกรรมงาน "ยมหินถิ่นแพร่" อาชีวะเกษตรแฟร์ 2554

อัพเดท ภาพกิจกรรมงาน "ยมหินถิ่นแพร่" อาชีวะเกษตรแฟร์ 2554

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แวะเที่ยวชมความงดงามของ "อ่างแม่ถาง"


รายละเอียด
อ่างเก็บน้ำแม่ถาง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง สร้างแล้วเสร็จในปี 2538

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ร่วมรับเสด็จ เนื่องในงาน "ยมหินถิ่นแพร่ อาชีวะเกษตรแฟร์"


       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเปิดงานยมหิน ถิ่นแพร่ อาชีวะเกษตรแฟร์ 54 ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ (21/2/2011)
      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดงานยมหินถิ่นแพร่ อาชีวะเกษตรแฟร์ 54 และการประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 32 ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่เมื่อเวลา 09.50 น. วันนี้(21ก.พ.54) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปยังวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เพื่อเป็นองค์ประธานเปิดงานยมหิน ถิ่นแพร่ อาชีวะเกษตรแฟร์ 54 และการประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 32 และทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยมีนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายชวน ศิริรนันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่นำผู้บริหาร คณะครู นักศึกษา จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยประมง เฝ้ารับเสด็จ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 32 ภายใต้ชื่องานยมหิน ถิ่นแพร่ อาชีวะเกษตรแฟร์ 54 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-26 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่ง ภายในงานมีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างโดยเฉพาะเมืองเกษตรแห่งอนาคต ที่เกี่ยวกับพระราชดำริด้านเกษตรอันประกอบด้วยเมืองเทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และพลังงานทดแทน ซึ่งจัดแสดงงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มต่อผลผลิตทางการเกษตรด้านพืช สัตว์และประมง รวมถึงการนำเสนอแหล่งพลังงานทดแทนจากพืช สัตว์และประมง ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ยังมีเมืองอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เมืองสมุนไพร และเมืองสัตวศาสตร์ /.

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภาพบรรยากาศ ฉลอง หอไตร ณ วัด สูงเม่น (ถ่ายเองกับมือ) ครับ...


ภาพบรรยากาศ ฉลอง หอไตร ณ วัด สูงเม่น (ถ่ายเองกับมือ) ครับ...

แวะเที่ยวงานฉลองหอไตหร วัตสูงแม่น จังหวัดเเพ ร่ (ต่อ)

           หลังจากพักเบรก ไปเมื่อกี้แล้วนะครับ มาต่อกันเรื่องหัวใจหลักสำคัญของงานฉลองหอไหตร  ฉลองวัดและฉลองพัดยศ ของท่านเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น กันต่อเลยนะครับ  คราวนี้จะพูดถึงเรื่องหัวใจหลักของงานโดยตรง  โดยการจัดสร้างหอธรรมะ หรือหอธรรม  ซึ่งเก็บรวบรวมพระไตรปิฏก คำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้แล้วนั้น... ยังมีการเก็บรวบรวมศาสตร์พื้นบ้าน  รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชาวบ้านและประชาชนทั่วไปได้เก็บรวบรวมกันเอาไว้อย่างเป็นระบบ  เป็นระเบียบ
          ซึ่งจัดทำเป็นหมวดเป็นหมู่ เอาไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างพวกเราๆ  และผู้สนใจ รวมทั้งภิกษุ - สามเณร ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นธรรมฯ ต่างๆ ได้แสวงหาความรู้กัน  โดยจัดสร้างตั้งแต่เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา  และแล้ว การเก็บรวบรวมศรัทธาจากคนในพื้นที่และนอกพื้นที่  จนได้เสร็จสมบูรณ์  และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ มาเรื่อย จนเสร็จสิ้นถึงทุกวันนี้ครับ
          จากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่ามีการแบ่งหมวดหมู่ของหนังสือพระธรรมคำสั่งสอนเอาไว้เป็นหมวดหมู่ครับ  ดังต่อไปนี้
        -  หมวดทั่วไป
        -  หมวดสำหรับภิกษุ
        -  หมวดสำหรับสามเณร
        -  หมวดสำหรับบุคคลทั่วไป
        -  หมวดสำหรับค้นคว้า
        -  หมวดสำหรับอ้างอิง
        -  หมวดสำหรับตีความหมายตามพระปิฏก
           สำหรับหมวดอื่นๆ  นอกเหนือจากที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมเองก็ไม่ทราบว่าเขาเรียกว่าอะไร? อันนี้ผมเองก็ต้องขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา และศาสตร์ชาวบ้าน รวมถึงบุคคลทั่วไป และทางเจ้าอาวาสให้คำแนะนำ  ผมเองก็ไม่ค่อยเก่งภาษาบาลี  จึงอ่านหนังสือไม่ค่อยออก  จึงไม่ค่อยได้ศึกษามาเท่าไหร่  จึงเก็บประสบการณ์ดีดี มาบอกเล่าเก้า10  ให้เพื่อนๆ  ฟังครับ
           นอกจากนี้แล้ววันนี้ยังมีการฉลองพัดยศน์ฯ  ของทางท่านเจ้าอาวาสอีกด้วยครับ  มีประชาชนหลายๆ  หมู่บ้าน  มาแห่ขบวน ต้อนรับด้วยความยินดียิ่ง หรือที่ภาษาเหนือ เมืองแป้บ้านเฮา ฮ้องว่า  "ซ่ายแฮง" นั่นเองครับ 
           สำหรับหมู่บ้านของผมก็มีขบวนแห่ที่เรียกว่า  รำกลองยาว  และรำฟ้อนเล็บ ฟ้อนแอ่น มาประจำตำแหน่งตั้งแต่ขบวนแรกแล้วครับ  (เป็นไงล่ะ  หมู่บ้านเจ้าของบทความ อิอิ)  เตรียมพร้อมการฝึกฟ้อนรำตั้งแต่เมื่อคืน  นำโดยแม่ผู้ใหญ่  กับทางอบต.  รวมถึง คณะกรรมการหมู่บ้าน  อสม.  และคณะแม่บ้าน 
           นำขบวนกลองยาว  กลองสั้น  กลองเล็ก  กลองน้อย  รวมถึง  เครื่องแต่งกาย  แต่งหน้า  แต่งตา  กันจนไก่ยังไม่โห่มาเลยเชียวววว ครับ งานนี้  พูดภาษาวัยส์รุ่นน ว่า  "จัดชุดใหญ่" ว่างั้นอ่ะนะ
           สำหรับทางอบต. คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. เองก็มีชุดขบวนชุดไทยล้านนนา  และชุดพื้นเมือง  ประกอบกับคณะและขบวนของทางเจ้าภาพในวันนี้ ได้ยิ่งใหญ่อลังการณ์สมกับฐานันดรศักดิ์ ของรองเจ้าคณะอำเภอสูงเม่นมากมาย ครับ....
          (อ้าว) เขียนไปเขียนมา เยอะแยะมากมายครับวันนี้  ง่วงนอนซะงั้นครับ สำหรับภาพถ่ายและภาพบรรยากาศ เดี๋ยวผมจะลงรายละเอียดทีหลังครับ  ถ้าเขียนมากกว่านี้  กลัวว่า เพื่อนๆ  จะไม่อ่านกันนะครับก็ขอทิ้งท้ายเอาไว้แค่นี้ว่า  ว่างๆ  จะเก็บรายละเอียด  พร้อมกับเอาภาพมาลงรายละเอียดให้ชมกันเป็นขวัญตานะครับ 
ซึ่งก็จะประกอบด้วย
        - ผังการจัดงาน
        -   ผังขบวน
        - ภาพการเดินขบวน
        -   ภาพบรรยากาศภายในวัด
        - มหรสพ
        -   การออกร้านค้าของแม่ค้าพ่อขายต่างๆ นานา
        - และการฉลองพัดยศน์ นะครับ

ปล.
ขอบคุณทาง Blogspot ที่เอื้อเฟื้อ  พื้นที่ดีดีสำหรับแบ่งปันข้อมูลครับ

แวะเที่ยวงานฉลองหอไตหร วัตสูงแม่น จังหวัดเเพ ร่


แวะเที่ยวงานฉลองหอไตหร วัตสูงแม่น จังหวัดเเพ ร่

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำนานแห่ง "ผู้ชนะสิบทิศ"


      โชติ แพร่พันธุ์ หรือเจ้าของนามปากกา “ยาขอบ” ที่มีผลงานเด่นคือ ผู้ชนะสิบทิศ และอีกหลากหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นผลงานเรื่องสั้นชื่อ “ เพื่อนแพง” วรรณกรรมเรื่องยาวอย่าง สามก๊ก (ฉบับวณิพก) ความเรียงปกิณกะเรื่องสินในหมึก เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"ดอกยมหิน" ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่


"ดอกยมหิน" ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่

ความลับของ "กำแพงเมือง" แพร่บ้านเรา


กำแพงเมืองแพร่สร้าง ปางบรรพ์
เป็นขอบเขตคูคัน โอบล้อม
พูนดินก่อเป็นสัน เสริมอิฐ
บรรพบุรุษเตรียมการพร้อม ปิดกั้น อันตราย

เวลคัมทูสยาม วิดีโอเมื่อเกือบร้อยปีก่อน!


เวลคัมทูสยาม วิดีโอเมื่อเกือบร้อยปีก่อน!

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เชิญแอ่วงาน "ประเพณีกำฟ้า ไทพวนทุ่งโฮ้ง2554"

เชิญแอ่วงาน "ประเพณีกำฟ้า ไทพวนทุ่งโฮ้ง2554"
-----------------------------------------
งานประเพณีกำฟ้าไทยพวนจังหวัดแพร่
ระหว่างวันที่ 4 - 6 กุมภาพันธ์ 2554
ในงานพบกับ กิจกรรมต่างๆ วิถีชีวิตชาวไทยพวน
การบวงสรวงเจ้าชมพู บรรพบุรุษไทยพวนที่ยิ่งใหญ่อลังการ
ซุ้มหมู่บ้าน ชุมชน ตามวืถีวีชิต
พิเศษ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ คืนสุดท้าย
พบกับ นักร้องสาวเสียงพิณ
จินตรา พูนลาภ
เจินมาแอ่วกันนักๆเด้อครับพี่น้องคนเมืองแป้

แวะเที่ยวชม "งา่นประเพณีกำฟ้าไทพวน"

 
แวะเที่ยวชม  "งา่นประเพณีกำฟ้าไทพวน"