วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

พาเพื่อนๆ ไปนมัสการ ศาสนสถานวัดกุญชรนิมิต

    
พาเพื่อนๆ ไปนมัสการ ศาสนสถานวัดกุญชรนิมิต
 พาเพื่อนๆ ไปนมัสการ ศาสนสถานวัดกุญชรนิมิต

  • วัดกุญชรนิมิต หรือที่เรียกว่า “วัดบ้านกวาง/ช้างมูบ” ตั้งอยู่ที่ต.บ้านกวาง อ.สูงเม่น จ.แพร่ ปัจจุบันมีท่านพระครูบุญบาลนิมิต เป็นเจ้าอาวาส ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่อยู่บ้านกวาง ท่านได้เล่าประวัติวัดให้ฟังว่า…เมื่อครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี (พ.ศ.1900) พญาลิไททรงเป็นกษัตริย์ปกครองพระนคร ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ทรงทราบว่าวัดวาอารามในภาคเหนือ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก จึงพระราชดำริที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาติของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ชาวพุทธได้กราบไว้บูชา พระองค์ทรงยกลี้พลข้าราชบริพารโดยใช้ช้างเป็นพาหนะในการบรรทุกขนข้าวของและ เงินทองจำนวนมาก เพื่อนำไปบูรณะพระเจดีย์ที่ชำรุดเหล่านั้น
  • พระองค์ทรงเสด็จจากสุโขทัยขึ้นไปทางเหนือ กระทั่งเสด็จเดินทางมาถึงบ้านกวางในเวลาพลบค่ำพอดี จึงทรงหยุดประทับแรมอยู่ ณ ที่นี้ และในค่ำคืนนั้นได้เกิดเหตุเศร้าสลดขึ้น คือ มีช้างพังเชือกหนึ่ง ชื่อ ช้างพังหราสีหนุศรีกุญชร ซึ่งเป็นช้างที่พญาลิไททรงโปรดปรานมาก เพราะรับใช้พระองค์มานานหลายปี ได้ล้มตายลงในลักษณะหมอบ (มูบ) กับพื้น อันเนื่องมาจากสาเหตุการบรรทุกของหนักและเดินทางมาไกลกอปรกับมีอายุมากแล้ว พระองค์ทรงให้ข้าราชบริพานทำการปลงซากช้างไว้ก่อน รุ่งขึ้นจึงเสด็จไปยังดอยลูกหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านกวาง ชื่อว่า “ดอยจวนแจ้ง” อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมแจ้ง พระองค์ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นจึงได้เสด็จขึ้นไปยังพระธาตุช่อแฮ และทำการบูรณปฏิสังขร์จนเสร็จ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นไปทางภาคเหนือ พระองค์ทรงระลึกถึงบุญคุณของช้างพังเชือกนั้น จึงได้เสด็จมาสร้างวิหาร แล้วปั้นรูปข้างพังเชือกนั้นในลักษณะหมอบกับพื้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณ ความดีนับแต่นั้นมาบ้านกวางจึงได้ชื่อว่า “บ้านกวาง-ช้างมูบ” และเมื่อประมาณปี พ.ศ.2340 ได้มีนายเตชะและนายต๊ะอี พร้อมทั้งผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิหลังหนึ่งสิ้นค่าไป ประมาณ 1000 ชั่งเศษ จากนั้นไม่นานมีพระธุดงค์เดินทางมาจากภาคอีสานชื่อว่า “พระเสด็จ” ได้มาตั้งกรดอยู่ ชาวบ้านกวางจึงพร้อมใจกันอาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดบ้านกวางสืบมา ปัจจุบันได้ตั้งชื่อว่า “วัดกุญชรนิมิต” และชาวบ้านจะเรียกว่า “วัดบ้านกวาง-ช้างมูบ” ตามสัญลักษณ์รูปปั้นช้างตราบจนทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น